คลิกเลือกไปหน้าแรก
ชาวสวน'92เข้าสูระบบ
คลิกดูกำหนดการได้ที่วันที่ในปฏิทิน
ธันวาคม - 2567
พฤ
อา
25
26
27
28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1
2
3
4
5
 

@คณะกรรมการชมรม
@ตัวแทน/ผู้ประสานงาน
@วิสัยทัศน์ ค่านิยม ยุทธศาสตร์
@ระเบียบการบริหารงาน
@ระเบียบว่าด้วยเงิน
@รักรุ่นจริงไม่ทิ้งกัน
@บัญชีสถานะการเงิน
@เพลงสวน

คลิกเพื่อเลือกชมและบันทึกข้อความ
คลิกเพื่อดูหรือ post ข่าว
 คลิกเพื่อดูหรือ post จดหมายเวียน
คลิกเพื่อดูหรือ post กำหนดการทำบุญบริจาคโลหิต
คลิกเพื่อดูหรือ post เข้าบอร์ดเพื่อนช่วยเพื่อน
คลิกเพื่อดูหรือ post รายละเอียดธุรกิจของเพื่อน
คลิกเพื่อดูหรือ post คลิปโดนๆของชาวสวน 96
คลิกเพื่อดูหรือ post ภาพกิจกรรมของชาวสวน 96
คลิกเพื่อฝากข่าวสารถึงท่านประธาน
คลิกเพื่อฝากข่าวสารถึง webmaster
คลิกเพื่อดูหรือ postข่าวสารทางวิชาการจากสวน 96
คลิกเพื่อดูหรือ postคำคม,ปรัชญาชีวิต
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องซุบซิบนินทา
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องของครอบครัวสวน  96
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องสันทนาการ

  คลิกเพื่อลิ้งค์ไปสู่หน้าเวปสวนกุหลาบ
  คลิกเพื่อลิ้งค์ไปสู่หน้าเวป OSKNETWORK


หัวข้อ :?จิบชาเสวนาการศึกษาไทยในกระแสโลกาภิวัตน์?   [ No. 124 ]  
รายละเอียด :
ธ.สอบตก'ปฏิรูปศึกษา'รอบ 6 ปี โจทย์ท้าทาย...'จาตุรนต์ ฉายแสง OSK87'

ข่าวประชาสัมพันธ์: เสวนาการศึกษาไทย

คณะกรรมการจัดงานมุทิตาจิตสวนกุหลาบ 2548 (รุ่น 103) ร่วมกับหนังสือพิมพ์ข่าวสด ขอเชิญร่วมฟังเสวนาทางการศึกษา ?จิบชาเสวนาการศึกษาไทยในกระแสโลกาภิวัตน์? ประเด็นการศึกษาไทยในมุมมองต่างๆ คุณค่าภูมิปัญญาในโลกตะวันออก นวัตกรรมการเงินสำหรับโรงเรียน แนวคิดการสร้างครูต้นแบบ ฯลฯ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี OSK ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา และ ดร.คณิต แสงสุพรรณ OSK90 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ดำเนินการเสวนาโดย ประภัทร ศรลัมพ์ OSK79/80/81 งานนี้ ฯพณฯจาตุรนต์ ฉายแสง OSK87 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2548 เวลา 12.30 ? 16.00 น. ณ หอประชุมสวนกุหลาบรำลึก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น) สอบถาม โทร. 0-22255605-8 . 0-22255782-3 และ 01-3412444

กำหนดการ

จิบชาเสวนาการศึกษาไทยในกระแสโลกาภิวัตน์
วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2548 เวลา 12.30-16.00 น.
ณ หอประชุมสวนกุหลาบรำลึก
***********************************************
12.30 น. ลงทะเบียน ณ ลานชั้น 1 ตึกสวนกุหลาบรำลึก
13.30 น. พิธีเปิด โดย ฯพณฯ นายจาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
13.50 น. บรรยายพิเศษ เรื่องการศึกษาไทยในกระแสโลกาภิวัตน์
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี
14.40 น. -บรรยายและเสวนาเรื่องการศึกษาไทยในมุมมองต่างๆ
คุณค่าภูมิปัญญาโลกตะวันออก : สมาธิ การหยั่งรู้ และปัญญา
โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นักวิทยาศาสตร์ผู้ร่วมงาน
กับองค์การนาซ่า
-นวัตกรรมทางการเงินสำหรับโรงเรียน : ผู้เรียนเปรียบเสมือน
ลูกค้า กองทุน ICL เรียนก่อนผ่อนทีหลัง และแนวคิดการสร้างครูต้นแบบ
โดย ดร.คณิต แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
ดำเนินการเสวนา โดย นายประภัทร ศรลัมพ์
16.00 น. มอบของที่ระลึก / พิธีปิด
***************************
สถานที่จอดรถ
1. ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 เชิงสะพานพุทธฯ
2. ภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จำนวนจำกัด)



"จาตุรนต์ OSK87"สั่งทบทวนนโยบายรับม.1 เล็งเพิ่มจำนวนรับนักเรียนบ้านไกล

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2548 นายจาตุรนต์ ฉายแสง OSK87 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า ได้มอบนโยบายให้ สพฐ.ทบทวนนโยบายการรับนักเรียนชั้น ม.1 โดยมีประเด็นสำคัญควรให้เด็กบ้านไกลได้มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนที่สนใจมากขึ้นได้หรือไม่ เพราะอาจไม่เป็นธรรมสำหรับเด็กบ้านไกลโดยเฉพาะเด็กในต่างจังหวัดหมดโอกาสได้เข้าเรียนโรงเรียนชั้นดี

ทั้งที่งบประมาณแผ่นดินที่สนับสนุนโรงเรียนในตัวเมืองก็มาจากเงินภาษีของคนทั้งประเทศ ดังนั้นน่าจะมีการหารือว่าสัดส่วนรับเด็กนอกพื้นที่บริการของโรงเรียนต่างๆ ควรจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับนักเรียนทุกคน นอกจากนี้ให้พิจารณาประเด็นของโรงเรียนชั้นหัวกะทิที่ผลิตเด็กเก่งออกมา ควรจะมีแนวทางรับนักเรียนอย่างไรเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพของโรงเรียนไว้ เพราะมีข้อมูลว่าจากนโยบายรับนักเรียนที่ผ่านมาส่งผลทำให้คุณภาพของโรงเรียนชั้นหัวกะทิลดลงในระยะ 5-10 ปีนี้ รวมทั้งให้มีการหารือด้วยว่าจำนวนนักเรียนที่เหมาะสมต่อห้องเรียนควรอยู่ที่จำนวนเท่าไหร่ เพราะปัจจุบันโรงเรียนยอดนิยมบางแห่งต้องรับนักเรียนถึง 50-60 คนต่อห้อง ทั้งนี้ราวปลายเดือนกันยายนอาจจะจัดประชุมเพื่อให้ได้ข้อยุติและปรับนโยบายรับนักเรียนให้ทันใช้ในปีการศึกษา 2549

นายจาตุรนต์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้ให้ สพฐ.ไปทบทวนโครงการจะสร้างโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอีก 500 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งโครงการที่จะสร้างโรงเรียนเพิ่มใน กทม.อีก 30 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาเด็กในพื้นที่ล้น โดยต้องการให้ สพฐ.ทำออกมาเป็นภาพรวมว่า พื้นที่ใดที่ต้องการสร้างโรงเรียนใหม่เพิ่มขึ้นจริงๆ แล้วค่อยสร้าง ซึ่งโดยหลักการหากพื้นที่ใดสามารถจะปรับใช้ทรัพยากรร่วมกับโรงเรียนข้างเคียง หรือควรปล่อยเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ไม่ควรไปสร้างโรงเรียนใหม่ซ้ำซ้อน

ด้านนางพรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวว่า ที่ สพฐ.เสนอสร้างโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มอีก 500 แห่ง ไม่ใช่เป็นโรงเรียนที่สร้างขึ้นใหม่ แต่เป็นการนำโรงเรียนที่ทรุดโทรมมากจนเกินกว่าจะซ่อมแซม รื้อออกและสร้างใหม่ทดแทน อย่างไรก็ตามหลังจากรับนโยบายจากนายจาตุรนต์แล้ว ทาง สพฐ.จะไปสำรวจให้ชัดเจนอีกครั้งว่ามีโรงเรียนในพื้นที่ใดที่จำเป็นจะต้องสร้างจริงๆ แล้วสรุปเสนอข้อมูลอีกครั้ง

มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1305 หน้า 12 และ 18

การศึกษา: ศธ.สอบตก"ปฏิรูปศึกษา"รอบ 6 ปี โจทย์ท้าทาย..."จาตุรนต์ ฉายแสง OSK87" -- กรณีศึกษาของ"ทักษิณ" "จุดเปลี่ยน"กระแสสังคม

ผลจากการติดตามการปฏิรูปการศึกษาในรอบ 6 ปี เนื่องในวาระครบรอบ 6 ปีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งนำเสนอผลการประเมินความก้าวหน้าการปฏิรูปการศึกษาโดย 3 หน่วยงานหลัก อันประกอบด้วย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และกลุ่มผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่สรุปผลไปในแนวทางสอดรับกันว่า "ยังย่ำอยู่กับที่"...เป็นผลลัพธ์ที่ออกมาชนิดไม่ได้สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับผู้คนที่ติดตามความคืบหน้าในการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเท่าใดนัก เพราะต่างรับรู้รับทราบกันมาโดยตลอดถึงความล้มเหลวที่เกิดขึ้น และต่างเคยตั้งความหวังกับรัฐมนตรีว่าการศธ. คนแล้วคนเล่า กระทั่งมาถึงคนล่าสุดคือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง OSK87

ทั้งนี้ สำหรับผลการประเมินของ สกศ. ระบุชัดเจนในการประเมินผลทั้ง 5 ด้าน

1.การปฏิรูปด้านสิทธิและโอกาสทางการศึกษา มีแนวโน้มดีขึ้น แต่เป็นไปในอัตราปกติ ไม่ใช่อัตราเร่งตามที่ควรจะเป็น สังเกตจากที่รัฐบาลตั้งเป้าให้ประชาชนทุกคนมีการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษา แต่ผลการดำเนินงานพบว่าจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 0.2 เท่านั้น ดังนั้น การจะให้จำนวนปีการศึกษาโดยเฉลี่ยของประชากรเป็น 9.5 ปี ในปี 2551 ตามนโยบายรัฐบาล ยังจะต้องเร่งดำเนินการในอัตราเร่งกว่าปกติอย่างมาก

2.การปฏิรูปด้านการเรียนรู้ พบว่าจากค่าเฉลี่ยของผลการสอบระดับชาติระดับ ป.6 ระดับ ม.3 และระดับ ม.6 รวมถึงคะแนนเฉลี่ยผลการสอบ TOFEL ผลสัมฤทธิ์ยังต่ำ ความสามารถทางการคิดคำนวณและการคิดวิเคราะห์ยังต้องปรับปรุง สาเหตุเพราะหลักสูตรยังไม่ชัดเจน ไม่เชื่อมโยง ครูยังกังวลกับการสอนเนื้อหาให้ครบ ในขณะที่กระบวนการเรียนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์กลับถูกลดความสำคัญลง อีกทั้งความยืดหยุ่นหลากหลายของหลักสูตรเพื่อตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษยังเกิดขึ้นน้อย

3.การปฏิรูปด้านการผลิตและพัฒนาครู ยังไม่ชัดเจน ยังไม่มีคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยระบบกระบวนการผลิตและวางแผนพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จึงส่งผลให้การดำเนินงานไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

4.การปฏิรูปด้านการบริหารจัดการ ในระดับส่วนกลางยังไม่ลงตัวในการจัดโครงสร้างองค์กรบางหน่วยงาน เช่น ในส่วนของการศึกษาเอกชน การศึกษานอกโรงเรียน ส่งผลกระทบถึงภารกิจในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการแบ่งภารกิจของหน่วยงานส่วนกลางบางส่วนยังไม่เอื้อต่อการดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดไว้ กลไกลประสานงานระหว่างหน่วยนโยบายกับหน่วยปฏิบัติยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้การประสานงานและการช่วยเหลือสถานศึกษา รวมถึงความใกล้ชิดกับชุมชนยังมีน้อยกว่าที่ผ่านมา ทั้งยังไม่ลงตัวในการบรรจุคนลงกับงานตามเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่เขตในเมือง นอกจากนี้ ส่วนกลางกระจายอำนาจให้แก่โรงเรียนยังไม่เต็มที่ สถานศึกษาจึงยังขาดความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ

5.การปฏิรูปด้านการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา ขององค์กรต่างๆ ยังมีน้อยมาก โดยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเอกชนมีส่วนร่วมเพียงร้อยละ 16 ในปี 2547 ระดับอุดมศึกษา ภาคเอกชนมีส่วนร่วมเพียงร้อยละ 20 ในปี 2547 ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีส่วนร่วมร้อยละ 10.88 ในปี 2547 ที่สำคัญประชาชนทั่วไปยังไม่รู้จักการศึกษารูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จนมีผลให้เกิดกรณีมีผู้ล่อลวงนักเรียนและผู้ปกครอง

ในผลการประเมินของ สมศ. เป็นผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา 17,562 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 49.1 ของสถานศึกษาทั่วประเทศ พบว่าการจัดการเรียนการสอนของครูที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ยังมีคุณภาพอยู่ในระดับเพียงร้อยละ 39.2 ของสถานศึกษาทั้งหมด การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ มีคุณภาพอยู่ในระดับเพียงร้อยละ 13.5 และครูสามารถนำผลการประเมินมาปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเพียงร้อยละ 21.6 ของสถานศึกษาทั้งหมด

การประเมินคุณภาพทางด้านผู้เรียนพบว่า ยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับต่ำมากในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ ร้อยละ 2.5 ของสถานศึกษาทั้งหมด วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 3.3 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ 3.5 ภาษาไทย ร้อยละ 3.8 ศิลปะร้อยละ 6.2 สุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ 14.5 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 18.5 และวิชาภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 47.6 โดยเฉพาะความสามารถของผู้เรียนในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และความคิดสร้างสรรค์ มีคุณภาพระดับดีเพียงร้อยละ 11.1 และการมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพระดับดีเพียงร้อยละ 26.5 ของสถานศึกษาทั้งหมด

ส่วนผลการประเมินของผู้ตรวจราชการ ศธ. พบว่าในด้านโครงสร้างการบริหารการศึกษาในส่วนกลาง ยังขาดการประสานเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์ ส่วนภูมิภาคพบว่าผู้แทนกระทรวงในจังหวัดยังไม่ชัดเจน การกระจายหรือมอบอำนาจไปที่เขตพื้นที่การศึกษายังไม่เป็นไปตามกฎหมาย ที่สำคัญครูจำนวนมากยังสอนแบบเดิม ขาดความรู้ในเนื้อหาวิชาและทักษะการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะครูในโรงเรียนขนาดเล็กขาดโอกาสพัฒนามาก เพราะไม่สามารถทิ้งห้องเรียนได้ ด้านระบบการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลยังไม่เข้มแข็ง และยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ความล้มเหลวในการปฏิรูปการศึกษาในรอบ 6 ปีดังกล่าวเหล่านี้ ดูว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. คนใหม่ จะไม่ใคร่ตกอกตกใจสักเท่าใดนักเช่นกัน

ทั้งยังจะนำความล้มเหลวที่เกิดขึ้นมาเป็นโจทย์แก้ไข ดังที่ระบุว่า "ผลการประเมินของทั้ง 3 หน่วยงาน เห็นได้ชัดว่าเราปฏิรูปการศึกษามา 6 ปีแล้ว แต่ยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ การคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ซึ่งจะต้องมาทบทวนกัน เช่นเดียวกับการพัฒนาครู ที่ระบบการพัฒนายังไม่ชัดเจน โดยสรุปช่วง 6 ปีที่ผ่านมาเราใช้เวลาหมดไปกับการจัดโครงสร้างส่วนราชการและการออกกฎหมาย โดยที่ให้เวลาน้อยมากกับการปฏิรูปการเรียนรู้ และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงจำเป็นต้องมาคิดวิเคราะห์ และนำผลการประเมินเหล่านี้ไปรับฟังความคิดเห็นให้แพร่หลายมากขึ้น แล้วตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลทั้งเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้และการพัฒนาครู"

นับเป็นแนวทางที่นายจาตุรนต์วางไว้ชัดเจน สำหรับการกรุยทางก้าวใหม่ของการปฏิรูปการศึกษาไทย ซึ่งต้องจับตาดูว่านายจาตุรนต์จะมีฝีไม้ลายมือมากน้อยแค่ไหน หรือจะยังติดหล่มเหมือนกับเจ้ากระทรวงศึกษาธิการคนก่อนๆ

"จาตุรนต์ OSK87" กรณีศึกษาของ"ทักษิณ" "จุดเปลี่ยน"กระแสสังคม

ถ้า "ทักษิณ ชินวัตร" เปิดใจกว้างและจับกระแสสังคมดีๆ เขาจะพบ "จุดเปลี่ยน" ของสังคมไทยที่น่าสนใจยิ่ง

กระแสตอบรับ "จาตุรนต์ ฉายแสง OSK87" กับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

คือ ปรากฏการณ์ใหม่ของกระแสสังคมที่ "ทักษิณ" ต้องพิจารณาให้ดี

อย่าลืมว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่เลือกใช้ "นักการเมือง"

ในห้วงเวลาหนึ่งก็ใช้คนแบบหนึ่ง ในอีกช่วงหนึ่งก็ใช้คนอีกแบบหนึ่ง

ตอน พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี คนไทยส่วนใหญ่ชู พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขึ้นมาเป็น "ฮีโร่"

เป็น "ผู้นำ" ของ "ม็อบมือถือ"

แต่พอเลือกตั้งใหม่ คนไทยก็กลับไปเลือกใช้บริการของ "ชวน หลีกภัย"

ต้องการ "ประนีประนอม" มากกว่า "แตกหัก"

เช่นเดียวกับเมื่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีและลาออกจากตำแหน่งหลัง "ลอยตัวค่าเงินบาท"

คนไทยก็ออกมาหนุน "ชวน หลีกภัย" และพรรคประชาธิปัตย์

ยอมหรี่ตาให้กับความไม่ถูกต้องกรณี "งูเห่า" ที่พรรคประชาธิปัตย์ดึง ส.ส.พรรคประชากรไทย กลุ่มหนึ่งออกมาสนับสนุน "ชวน" เป็นนายกฯ

ตอนนั้นคนไทยอยากได้ "ชวน" มากกว่า พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ทุกคนจึงแกล้งไม่เห็นความไม่ชอบธรรมดังกล่าว

คล้ายๆ กับครั้งที่หรี่ตาให้ "อานันท์ ปันยารชุน" เป็นนายกฯ ทั้งที่เพิ่งเดินขบวนต่อต้าน พล.อ.สุจินดาด้วยหลักการ "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง"

แต่เพราะสังคมไทยอยากได้ "อานันท์" มากกว่า "สมบุญ ระหงษ์"

เขาจึงลืมไปว่า "อานันท์" ก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

บางครั้งการตัดสินใจทางการเมืองของคนไทย เป็นเรื่อง "ความรู้สึก" มากกว่า "เหตุผล"

เป็นเรื่อง "บุคคล" มากกว่า "หลักการ" (เช่นเดียวกับเสียงส่วนใหญ่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เลือกให้ทักษิณไม่ผิดในกรณีที่ทำทุจริตจริง)

และเมื่อ "ชวน" เป็นนายกฯ จนถึงเวลาเลือกตั้งใหม่ แต่เศรษฐกิจไทยยังไม่กระเตื้องขึ้น กระแสสังคมจึงเริ่มเปลี่ยนไปหนุน "ทักษิณ ชินวัตร" ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในทางธุรกิจ

ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 2544

ตอนนั้นสังคมไทยยอมหรี่ตาให้กับ "ความถูกต้อง" ในกรณี "ซุกหุ้น"

ช่วง 4 ปีของรัฐบาล "ทักษิณ" คนไทยตื่นตาตื่นใจกับวิธีการตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างฉับไวแบบนักบริหารภาคเอกชน ที่เปี่ยมด้วยกระบวนทัศน์ที่กว้างไกลเกินเกม

นักธุรกิจที่เข้ามาสวมบทบาทรัฐมนตรีได้รับการยอมรับสูงกว่านักการเมืองอาชีพ

ยิ่งนโยบายที่ประกาศในการเลือกตั้ง "เป็นจริง" ขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยมีพรรคการเมืองไหนทำสำเร็จมาก่อน

"ทักษิณ" และ "ขุนพลเศรษฐกิจ" จึงเป็นเช่นเทวดา

ประกาศนโยบายอะไรมา คนก็เชื่อหมด

แต่แล้วสังคมไทยก็เริ่มเบื่ออีกครั้งหลังการเลือกตั้ง 2548

ความหวือหวาของนโยบายเศรษฐกิจใหม่ๆ เริ่มไม่มีสีสันในสายตาคนไทย

เช่นเดียวกับ "ความศักดิ์สิทธิ์" ของ "ทักษิณ"

ยิ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกทะยานสูงขึ้นสวนทาง "คำทำนาย" ของ "ทักษิณ"

ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ "ทักษิณ" ขีดเส้นตายมาแล้วหลายเส้น ฯลฯ

ความเชื่อถือในตัว "ทักษิณ" ก็ลดต่ำลง

เช่นเดียวกับรัฐมนตรีที่มาจากนักธุรกิจและนักบริหารมืออาชีพจากแวดวงธุรกิจ

"จาตุรนต์ OSK87" นักการเมืองอาชีพที่ภาพพจน์ดีกลับโดดเด่นขึ้นมาจากแนวคิด "สมานฉันท์" แบบสายพิราบในกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ของเขาที่ต่อเนื่องยาวนาน

จาตุรนต์ ฉายแสง แสงแห่งธรรม
จาตุรนต์ คือผู้นำ เพื่อฟ้าใหม่
จาตุรนต์ ฉายแสง แสงแห่งไท
จาตุรนต์ คือหลักชัย ชาวเสมา

เป็นคำกลอนที่บรรดาองค์กรครูแต่งให้ "จาตุรนต์ ฉายแสง OSK87" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คนใหม่ และอ่านให้เจ้าตัวฟังในวันที่องค์กรครู 60 องค์กรเข้าพบแสดงความยินดีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา เนื้อหาในคำกลอนสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าองค์กรครูล้วนชื่นชมยินดีและฝากความหวังไว้มากทีเดียว พูดได้ว่าเป็นรัฐมนตรีศึกษาฯ ที่มีแต่คนสนับสนุน ไร้เสียงค้าน นับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เลือกคนไม่ผิด เพราะส่งผลให้ภาพพจน์ของ ศธ. ดีขึ้นทันทีทันใด หลังจากที่มีข่าวในทางลบมานานในช่วงที่ นายอดิศัย โพธารามิก นั่งบริหาร

ถ้าถามว่า "ทักษิณ" พอใจในฝีมือของ "จาตุรนต์" มากน้อยแค่ไหน

กรอบความคิดและกรอบประสบการณ์ของ 2 คนนี้แตกต่างกันมาก

"ทักษิณ" ชอบคนที่ตัดสินใจรวดเร็ว แต่ "จาตุรนต์" ไม่ใช่

เขาเป็นคนตัดสินใจแบบละเมียดแต่ละเอียดรอบคอบ

มีจุดเด่นคือเป็นคนที่เปิดกว้างทางความคิด ยังรักษาสายสัมพันธ์กับกลุ่มปัญญาชนไว้ได้เป็นอย่างดี

"จาตุรนต์" เป็นคนที่ "ต้นทุน" ทางสังคมสูง มีพลังทางปัญญาหนุนอยู่มากทีเดียว

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสียงชื่นชมทั้งจากในและนอกกระทรวงจึงเซ็งแซ่อย่างยิ่ง

เพราะงานปฏิรูปการศึกษาเป็นงานที่ต้องใช้พลังหนุนจากทุกฝ่าย จะใช้อำนาจเด็ดขาดตัดสินใจไม่ได้

งานนี้จึงเหมาะกับ "จาตุรนต์"

ในขณะที่ "หมอเลี๊ยบ" นักการเมืองภาพพจน์ดีอีกคนหนึ่งที่เกิดช่องว่างทางความคิดกับ "ทักษิณ" ในการฟอร์ม ครม. ครั้งแรกของ "ทักษิณ 2"

เขาหลุดออกจากวงโคจรไปแบบไม่รู้ตัว

และเมื่อได้รับการทาบทามให้เป็นโฆษกพรรค เขาก็ปฏิเสธแบบไม่มีเยื่อใย

จนวันหนึ่งเมื่อ "ทักษิณ" ต้องการปรับทีมโฆษกรัฐบาล "หมอมิ้ง" น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช OSK87 เลขาธิการนายกฯ ก็เสนอชื่อ "หมอเลี๊ยบ" เข้ามา

ด้วยภาพลักษณ์ที่ดี ท่าทีนิ่มนวล เปิดกว้างรับฟัง และรู้จริง

แค่การเชิญนายกฯ มาให้สัมภาษณ์สัปดาห์ละครั้ง และประกาศแนวคิดการทำงานของโฆษกรัฐบาลที่มีทั้งเชิงรับและเชิงรุก

เท่านี้ก็ได้เสียงปรบมือแล้ว

ความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมที่ต้องการนักการเมืองภาพพจน์ดี คือ สัญญาณที่ "ทักษิณ" น่าจะนำไปพิจารณาอย่างละเอียด

เพราะกำลังจะเป็นจุดเปลี่ยนของการเมืองไทย

"ความรู้สึก" ของสังคมกำลังเปลี่ยนไปอีกครั้ง

ที่มา:

* http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0406190848&srcday=2005/08/19&search=no
* http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0403190848&srcday=2005/08/19&search=no
* http://osknetwork.com/modules.php?name=News&file=article&sid=888
* มติชน 25/8/48 หน้า 26 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01edu03250848&day=2005/08/25

By : ( IP : ...xxx ) (Read 544 | Answer 0 2008-03-30 13:44:41 )
 

จำนวนผู้เข้าชมเว็บทั้งหมด 230662 คน

ชมรมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 96 100/397-398 หมู่บ้านมณียา ถ.รัตนาธิเบศธ์ ซ.ท่าอิฐ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ติดต่อท่านประธาน > kematat.p@hotmail.com ติดต่อเว็บมาสเตอร์ >webmaster.osk@gmail.com
Produced By Permpoon C. and Powered by: StartUp Design and Network Co.,Ltd.