|
|
|
หัวข้อ :คนเก่งควรเป็นยังไง [ No. 311 ] |
|
รายละเอียด :
: มาสาย-กลับดึก โดย วินทร์ เลียววาริณ.
>
>
>
> วันแรกที่เข้าเรียนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
> ผมพบเรื่องอัศจรรย์อย่างหนึ่งเมื่อรุ่นพี่บางคนบอกว่า
>
> "การอดนอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนในคณะนี้"
>
>
>
> วันสุดท้ายในคณะนี้ ผมพบว่าตั้งแต่เรียนมาห้าปี
>ไม่เคยต้องอดนอนเลย
> ยกเว้นเมื่อต้องทำงานกลุ่ม
> ทั้งนี้มิใช่เพราะผมทำงานเร็วกว่าคนอื่น แต่เพราะผมไม่เชื่อในทัศนคตินั้น
> จึงพยายามพิสูจน์ว่ามันไม่จริง และพบว่า การวางแผนที่ดีแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
> แม้แต่การสร้างสรรค์งานศิลปะ
>
> ที่น่าขันก็คือ น้อยคนที่อดนอนได้คะแนนดี
> ผมเป็นมนุษย์เงินเดือนมานานร่วมสามสิบปี ห้าปีในนั้นผมทำงานในต่างประเทศ
> เมื่อกลับมาเมืองไทย ผมพบเรื่องอัศจรรย์อีกเรื่องหนึ่ง
>
>นั่นคือหลายคนมองการก้าวเท้าออกจากสำนักงานตรงเวลาเป็นเรื่องประหลาดที่สุดในโลก
> (มิพักเอ่ยถึงการออกก่อนเวลาเมื่องานเสร็จแล้ว)
>
>
> ผมรู้ความจริงภายหลังว่า
>คนจำนวนมากไม่ยอมออกจากสำนักงานตรงเวลา
> เพื่อแสดงให้เจ้านายเห็นว่า
> ตนเองขยันขันแข็ง ยิ่งอยู่ดึก ยิ่งเป็นพนักงานตัวอย่าง เสียสละเพื่อองค์กร
> น่ายกย่องชมเชย
> บ่อยครั้งมีผลถึงการได้รับโบนัสตอนท้ายปี
> เนื่องจากเจ้านายมักเห็นหน้าเห็นตาใครคนนั้น หลังเวลาเลิกงานแล้วเสมอ
> หากไม่เคยทำงานในต่างประเทศมาก่อน ผมอาจเข้าร่วมวงไพบูลย์ "มาสายกลับดึก" ด้วย
> แต่หลายปีในชีวิตการทำงานในประเทศที่มีประสิทธิภาพในการจัดการที่สุด
> ทำให้เห็นค่าเวลาทุกนาทีในชีวิต
>
> ผมกลับมองว่าคนที่อยู่ดึกเป็นประจำคือพวกไร้ประสิทธิภาพ
> ไม่สามารถทำงานให้เสร็จทันเวลา
> จึงต้องอยู่ดึก ยิ่งทำงานมากชั่วโมงยิ่งแสดงถึงการทำงานโดยไม่มีการวางแผน
> ไม่มองภาพรวม
>
> ลองคิดดู การอยู่ดึกเพื่อทำงานพิเศษหนึ่งคืนหมายถึงค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
> เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น ค่าทะนุบำรุงสูงขึ้น
> ผลกระทบต่อคนทำงานคือพักผ่อนน้อยกว่าที่ควรเป็น
> ยิ่งอยู่ดึก ประสิทธิภาพของงานในวันถัดไปยิ่งตกต่ำลง
>
> มือกระบี่ชั้นหนึ่งในแผ่นดินมองท่วงทีของศัตรูอย่างระวัง
> ตวัดกระบี่ในมือเพียงฉับเดียวก็เข่นฆ่าฝ่ายตรงข้าม
> มือกระบี่ชั้นรองต้องประกระบี่ดังโคร้งเคร้งนานนับชั่วโมง
>ราวกับอยากบอกโลกว่า
> ข้าก็ใช้กระบี่นะโว้ย
>
> โลกรับรู้ แต่คมกระบี่ก็บิ่น ต้องเสียเวลาลับกระบี่อีกหลายวัน
> งานดีอย่างเดียวไม่พอ ต้องตรงเวลาด้วย งานดีไม่มีทางเกิดขึ้นตามยถากรรม
> หรืออารมณ์ขึ้นลง
> ไปจนถึงความหนาแน่นรัดกุมของกฎเกณฑ์ "ตอกบัตร"
>
> ปริมาณเวลาในการทำงานชิ้นหนึ่งไม่ได้เป็นสัดส่วนกับคุณภาพของผลงานเสมอไป
> บ่อยครั้งเป็นปฏิภาคกัน
> หลายครั้งงานที่ให้เวลาน้อย กลับออกมาดีกว่างานที่ให้เวลามาก
> คนเก่งจริงไม่เรื่องมาก คนฉลาดจริงไม่มากเรื่อง
>
> ทำงานเสร็จแล้วก็เลิก ไม่ต้องรอเทวดาบนสวรรค์วิมานมารับรู้
> เพราะถึงเวลานั้นเทวดาก็กลับบ้านไปแล้ว
By : ฝากเพื่อนๆ
( IP : 61.47.100.xxx )
(Read 690 | Answer 1 2006-07-06 22:16:54 )
|
|
|
|
|
|
|
|
|