|
|
|
หัวข้อ :สวน วันนี้ [ No. 386 ] |
|
รายละเอียด :
ไปดูคะแนนกันได้เลยครับ --> http://www.gpa.moe.go.th/Onet48/
โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบทั้ง 8 มีผลคะแนนสูงสุดดังต่อไปนี้ครับ
อันดับ 1. สวนกุหลาบฯ นนทบุรี - 447.75
อันดับ 2 สวนกุหลาบวิทยาลัย - 432.75
อันดับ 3 สวนกุหลาบฯ รังสิต - 370.50
อันดับ 4 นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบฯ ปทุมธานี - 365.50
อันดับ 5 นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบฯ สมุทรปราการ - 330.00
อันดับ 6 สวนกุหลาบฯ ชลบุรี - 300.25
อันดับ 7 สวนกุหลาบฯ เพชรบูรณ์ - 263.75
อันดับ 8 สวนกุหลาบฯ สระบุรี (ตอนนี้ยังใช้ชื่อว่า โรงเรียนปากเพรียววิทยาคม) - 261.00
แต่ที่จริง max ไม่ค่อยบ่งชี้อะไรซักเท่าไหร่นะครับ น่าจะดูที่ค่า mean กับ SD ถูกแล้ว
เริ่มเห็นผลปัญหาเด็กฝากรั้งคุณภาพโรงเรียนใหญ่
ดร.รุ่ง แก้วแดง รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่จำนวนมากกำลังประสบปัญหาด้านคุณภาพ เนื่องจากผู้บริหารดูแลไม่ทั่วถึง และพฤติกรรมของเด็กนักเรียนโดยเฉพาะวัยรุ่นที่มีการรังแกกัน ทำร้ายกัน รวมถึงปัญหาที่น่าเป็นห่วงอย่างมากคือ เรื่องยาเสพติด ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะโรงเรียนมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะบริหารและจัดการได้ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงต้องมีนโยบายที่จะกลับไปช่วยโรงเรียน โดยต้องพยายามส่งเสริมโรงเรียนขนาดเล็กให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งเวลานี้ก็ถือว่าเป็นจังหวะดี เพราะจากผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-NET) ของปีนี้ ก็พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ ๆ หลายโรงมีคะแนนออกมาไม่ค่อยดี ในขณะที่โรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนสาธิตซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากกลับทำคะแนนได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้เราก็คงยังไม่สามารถตัดสินในเรื่องคุณภาพของโรงเรียนได้ แต่จะต้องเฝ้าดูกันต่อไปก่อน
ดร.รุ่งกล่าวต่อไปว่า ตนสนใจปรากฏการณ์นี้อย่างมากจึงได้สอบถามไปในบางจังหวัด เพื่อเปรียบเทียบโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดที่มีอยู่ดั้งเดิม ซึ่งหลายโรงเรียนก็มีอายุเป็นร้อยปี กับโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนสาธิต ทำให้ทราบว่าวันนี้ผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ก็เริ่มเป็นกังวลเช่นกัน ถึงแม้ผลการเรียนของเด็กยังไม่ตก แต่กลับพบว่าพฤติกรรมของเด็กมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ส่งผลให้ผู้ปกครองอยากเลี่ยงโดยการให้ลูกไปเข้าโรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่ผู้บริหารสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงมากกว่า ดังนั้นเวลานี้อะไรก็ตามที่ใหญ่เกินไปได้เริ่มมีปัญหาแล้ว
?เวลานี้โรงเรียนมัธยมบางแห่งขยายไปถึง 4,000-5,000 คนแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการฝากเด็กเข้าเรียนกันมาก ใคร ๆ ก็ฝาก ทั้งรัฐมนตรี เลขาธิการ รวมถึงสื่อมวลชนด้วย ดังนั้นอนาคตเราจะต้องมีการดูแลเรื่องของจำนวนนักเรียนกันอย่างจริงจัง? ดร.รุ่ง กล่าว
ด้าน นางพรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีการกำหนดจำนวนการรับนักเรียนต่อห้องไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 30 คนต่อห้อง แต่หากมีความจำเป็นต้องรับเกิน ให้รับได้ไม่เกินห้องละ 35 คน หากกรณีมีความจำเป็นต้องจัดเกินห้องละ 35 คน ให้เสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการรับนักเรียนของจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.), ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ห้องละ 40 หากมีความจำเป็นก็ให้รับไม่เกินห้องละ 45 หรือหากมีความจำเป็นต้องรับเกินห้องละ 45 คน ก็ให้ขออนุมัติจากคณะกรรมการรับนักเรียนจังหวัดและ สพท., ส่วนระดับมัธยมศึกษาห้องละ 40 คน หากมีความจำเป็นต้องรับเกินให้รับไม่เกินห้องละ 45 คน กรณีมีความจำเป็นต้องรับเกิน 45 คนจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการรับนักเรียนของจังหวัดและ สพท. เช่นกัน
?ปัจจุบันโรงเรียนชื่อดังจะรับนักเรียนอยู่ที่ประมาณห้องละ 55 คน และถ้าจะไม่ให้โรงเรียนเพิ่มจำนวนรับนักเรียนก็คงไม่ได้เพราะมีการฝากเด็กจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก บางโรงเรียนมีฝากกันเป็นพันคน? นางพรนิภา กล่าว
ที่มา เดลินิวส์ วันที่ : 17 กรกฎาคม 2549
http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=31132
..............................................................................
" เล็งออกกฎรับ ม.1 ไม่เกิน 45 คน/ห้อง "จาตุรนต์" ไฟเขียวให้ ร.ร.ดังจัดสอบ100% "
"จาตุรนต์" เล็งคลอดกฎกระทรวงคุมเข้มรับเด็ก ม.1 ต่อห้อง ได้ไม่เกิน 45 คน พร้อมเตรียมไฟเขียวให้โรงเรียนดังจัดสอบได้ 100% เพื่อพยุงมาตรฐานการศึกษาไม่ให้ตกต่ำลงจากการรับเด็กใกล้บ้าน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า จะผลักดันให้มีกฎหมายจำกัดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ให้เหมาะสมกับจำนวนครูที่สอน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระดมความคิดเห็น ก่อนยกร่างกฎกระทรวงศึกษาธิการเสนอคณะรัฐมนตรีรักษาการ ส่วนตัวเห็นว่าเด็กมัธยมต่อห้องไม่ควรเกิน 40-45 คน แต่ปัจจุบันมีถึง 60-62 คนต่อห้อง ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้คุณภาพการศึกษาของชาติจะแย่ และถ้าไม่มีกฎหมายมาควบคุม คนที่รับแรงกดดันและถูกสังคมบีบให้รับเด็กเพิ่มคือผู้บริหารโรงเรียน
ด้านนางพรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ในประกาศรับนักเรียนของ สพฐ.กำหนดชัดเจนให้โรงเรียนรับเด็กประถมศึกษา-มัธยม 40 คนต่อห้อง แต่ยังพบโรงเรียนยอดนิยม 400 แห่งทั่วประเทศที่รับเกินที่ สพฐ.กำหนด โดยเมื่อปีการศึกษา 2548 สพฐ.สำรวจพบว่า โรงเรียนที่รับเด็กน้อยกว่า 35 คนต่อห้อง ในระดับอนุบาลมี 26,316 โรง, ป.1 มี 30,604 โรง, ม.1 มี 16,287 โรง, ม.4 มี 1,197 โรง
ส่วนที่รับเด็กมากกว่า 55 คนต่อห้อง ระดับอนุบาลมี 15 โรง, ป.1 มี 11 โรง, ม.1 มี 48 โรง, ม.4 มี 12 โรง และรับระหว่าง 51-55 คน ระดับอนุบาลมี 14 โรง, ป.1 มี 13 โรง, ม.1 มี 107 โรง และ ม.4 มี 30 โรง
นางพรนิภา กล่าวต่อว่า จากการสำรวจขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ในปี 2548 พบว่า นักเรียนต่อห้องระดับประถมอยู่ที่ 25.1 คน, มัธยมอยู่ที่ 36.3 คน ค่าเฉลี่ยนี้สูงกว่าญี่ปุ่น 2 คนต่อห้อง แต่ต่ำกว่ามาเลเซียและฟิลิปปินส์ โดยมาเลเซียมีค่าเฉลี่ยระดับประถม 32.9 คนต่อห้อง มัธยม 37.1 คนต่อห้อง และฟิลิปปินส์ระดับประถม 39.7 คนต่อห้อง มัธยม 51.6 คนต่อห้อง
แหล่งข่าวกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารศธ. นายจาตุรนต์ ได้เปิดประเด็นให้โรงเรียนยอดนิยม เช่น มหิดลฯ, เตรียมอุดมฯ, ร.ร.สาธิต, บดินทร์, ฯลฯ รับเด็กด้วยการจัดสอบ 100% เหมือนในอดีต เพื่อให้โรงเรียนเหล่านี้พัฒนาเป็นโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
ที่มา : http://www.komchadluek.net/2006/07/17/e001_28040.php?news_id=28040
ผมสนใจเรื่องนี้มาก อยากจะหาเวลาศึกษา เพราะถ้ามีข้อมูลที่ละเอียดจึงจะวิเคราะห์ได้จริง เพราะควรจะดูทั้ง Mean Max Median SD รวมทั้งDistribution ของผู้ที่ได้คะแนนสูงๆจึงจะเปรียบเทียบได้ชัดว่าแต่ละโรงเรียนเป้นอย่างไร
แปลกใจว่าทำไมคะแนนจากข่าวที่ pos t ตั้งแต่กระทู้แรก กับ Web ที่ทรงวุฒิแนะนำ คะแนนไม่ตรงกัน
ถ้าอยากจะดูเป็นรายวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จะดูอย่างไร เพราะคะแนนพวกนี้ เราน่าจะทำให้ได้ดี
ดูอย่างนี้ก็น่าแปลกใจที่เราต่างจากเตรียมอุดมมากในค่าเฉลี่ย แต่อาจเป็นเพราะในสมัยที่มีการสอบมศ.5 รวม มีระบบตกด้วยทำให้พรรคพวกเราไม่ผ่านมาสอบรวมประมาณหนึ่งในสามพวกที่สอบ มศ.5 ก็จะพร้อมและสอบได้หมด เลยอาจจะทำให้ดูดีเกินความจริง การที่เตรียมอุดมเป็นแหล่งที่คัดนักเรียนจาการสอบเข้าได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ได้เด็กดีไป ส่วนพวกสาธิตก็คงเป็นเพราะนักเรียนฐานะดี มีความพร้อม รวมทั้งจำนวนน้อย ซึ่งพวกนี้ถึงค่าเฉลี่ยจะสูงกว่าสวน แต่คิดว่าถ้าดูจำนวน หรือการกระจายของคนที่ได้คะแนนสูง อาจจะสู้ไม่ได้
ส่วนกรณีของโรงเรียนมหิดลนี้ ผมคิดว่าเป็นความผิดพลาดทางนโยบายที่สร้างความสูญเสียทางงบประมาณ เพราะผู้วางนโยบายไปมองว่า เราขาดนักวิทยาศาสตร์และระบบโรงเรียนสามัญใช้ไม่ได้ เลยใช้ระบบตั้งโรงเรียนพิเศษ เป็นนิติบุคคล ของบประมาณเองได้ ให้ค่าตอบแทนอาจารย์ที่ดีได้ งบประมาณ โรงเรียนนี้ได้มากกว่าของมหาวิทยาลัยเล็กๆ และราชภัทร์ อีก แต่ผลิตได้ปีละ 200 กว่าคน และผู้วางแผนไม่ได้คิดว่าจำนวนผลผลิตโดยรวมไม่ได้เพิ่มแต่อย่างไร เพราะนักเรียนเหล่านี้ก็ดึงมาจากผู้ที่อาจจะเรียนที่เตรียมอุดม สาธิต หรือสวนกุหลาบ (ไม่ใช่พวกที่เกิดใหม่ มาจากไหน หรืออาจมองว่านักเรียนที่ไปแข่งโอลิมปิคก็เท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนโรงเรียน) ถ้าใช้งบประมาณที่จะสร้างโรงเรียนแบบนี้ไปให้โรงเรียนที่มีอยู่ หรือแม้แต่ให้ทุนเด็กเก่งเรียนทางวิทยาศาสตร์ จะดีกว่ามาก โรงเรียนแบบนี้ยังสร้างความไม่เป็นธรรม เพราะเป็นการใช้งบรัฐทุ่มให้กับคนที่น่าจะมีฐานะดีอยู่แล้ว ได้เปรียบในการเอนทรานกว่าลูกชาวบ้านอีก โดยไม่มีหลักประกันว่าจะผลิตนักวิทยาศาสตร์ หรือ หมอได้เพิ่มขึ้น (เพราะจำนวนการผลิตในมหาวิทยาลัยคงเดิม) ที่เขียนยาวเพราะรู้ว่ามีหลายคนที่คิดว่าการทำโรงเรียนพิเศษแบบนี้ได้ผลดีและอยากจะขยายอย่างนี้มากๆ ส่วนผมมองไปในทางตรงกันข้ามว่ายิ่งทำจะยิ่งมีปัญหา
สวนกุหลาบเรามีข้อดีที่ให้ลูกชาวบ้านเรียนได้ สมัยที่มีการสอบก็มีคนที่ฐานะแตกต่างกันเรียนอยู่ มีความหลากหลายดี ผมว่าสมควรที่เราจะให้โอกาสคนเรียนทั่วไป แต่จำนวนที่คัดเลือกการสอบน่าจะเพิ่ม ส่วนการรับในเขตไม่น่าจะมีมาก (ไม่เกิน ร้อยละ 20) เพราะคนแถวนั้นที่จะมาเรียนแทบไม่มีอยู่แล้ว และโรงเรียนที่จะผลิตผู้นำก็ต้องให้มีกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจ ทั้งวิชาการ กีฬา สังคม จึงจะเป็นผู้นำได้
ผมอ่านข่าวแล้วค่อนข้างตกใจปนเศร้า
ที่ดูเหมือนสวนกุหลาบจะตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว
สาเหตุส่วนหนึ่งคงเป็นอย่างที่มีการวิเคราะห์กันข้างบน
แต่อีกส่วนหนึ่งจะเป็นเพราะเลือดชมพูฟ้าเข้มข้นน้อยลงหรือเปล่า
ผมได้มีโอกาสทราบข้อมูล
จากการสัมภาษณ์นักเรียนที่สอบติดในคณะที่อยู่อันดับต้นๆ
มีเด็กสวนสอบติดมาก แต่เป็นเด็กสวนตอนมัธยมต้น
ส่วนใหญ่ไปเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนอะไรทุกคนคงทราบ
กลายเป็นว่าพวกนี้ไปทำให้คะแนนเฉลี่ยที่อื่นดีกว่าสวนหรือไม่
ทำให้คะแนนเฉลี่ยที่สวนน้อยลงหรือไม่
คงต้องมาลองช่วยกันคิด
อาจจะถึงเวลาที่ต้องช่วยกันอย่างจริงจัง
By : chang
( IP : 58.8.118.xxx )
(Read 538 | Answer 2 2006-11-09 15:43:23 )
|
|
|
|
|
|
|
|
|