คลิกเลือกไปหน้าแรก
ชาวสวน'92เข้าสูระบบ
คลิกดูกำหนดการได้ที่วันที่ในปฏิทิน
ธันวาคม - 2567
พฤ
อา
25
26
27
28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1
2
3
4
5
 

@คณะกรรมการชมรม
@ตัวแทน/ผู้ประสานงาน
@วิสัยทัศน์ ค่านิยม ยุทธศาสตร์
@ระเบียบการบริหารงาน
@ระเบียบว่าด้วยเงิน
@รักรุ่นจริงไม่ทิ้งกัน
@บัญชีสถานะการเงิน
@เพลงสวน

คลิกเพื่อเลือกชมและบันทึกข้อความ
คลิกเพื่อดูหรือ post ข่าว
 คลิกเพื่อดูหรือ post จดหมายเวียน
คลิกเพื่อดูหรือ post กำหนดการทำบุญบริจาคโลหิต
คลิกเพื่อดูหรือ post เข้าบอร์ดเพื่อนช่วยเพื่อน
คลิกเพื่อดูหรือ post รายละเอียดธุรกิจของเพื่อน
คลิกเพื่อดูหรือ post คลิปโดนๆของชาวสวน 96
คลิกเพื่อดูหรือ post ภาพกิจกรรมของชาวสวน 96
คลิกเพื่อฝากข่าวสารถึงท่านประธาน
คลิกเพื่อฝากข่าวสารถึง webmaster
คลิกเพื่อดูหรือ postข่าวสารทางวิชาการจากสวน 96
คลิกเพื่อดูหรือ postคำคม,ปรัชญาชีวิต
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องซุบซิบนินทา
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องของครอบครัวสวน  96
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องสันทนาการ

  คลิกเพื่อลิ้งค์ไปสู่หน้าเวปสวนกุหลาบ
  คลิกเพื่อลิ้งค์ไปสู่หน้าเวป OSKNETWORK


หัวข้อ :เด็กสวนฯที่จบจาก Top Ten Schools   [ No. 394 ]  
รายละเอียด :
ถ้าดูจากสัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ รับรองว่า Imperial College กินขาดครับ
ในขณะที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกาส่วนใหญ่จำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติ (ในระดับ undergrad)
มหาวิทยาลัยที่อังกฤษนี่จะอยู่ไม่ได้เลย ถ้าไม่มีนักเรียนต่างชาติ เพราะนักเรียนต่างชาติจ่าย
ค่าเล่าเรียนแพงกว่าคนอังกฤษถึง 3-4 เท่าตัว แม้แต่ Cambridge กับ Oxford ที่มีเงินถุงเงินถัง
ไม่เคยง้อนักเรียนต่างชาติมาก่อน เมื่อเร็วๆ นี้ทั้งสองมหาลัยก็ออกมาบอกว่าฐานะทางการเงินเริ่มง่อนแง่น
และมีนโยบายที่จะรับนักเรียนต่างชาติเพิ่ม

อีกอย่างในการสมัครเข้าเรียนป.ตรี ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกาอย่าง Harvard, Princeton, Caltech
เขาจะบอกอย่างชัดเจนว่า ถ้าเก่งจริงให้สมัครมาได้เลย ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีเงินเรียน
ถ้าเขารับเข้าเรียนแล้ว ใครไม่มีตังค์ ไม่ว่าจะเป็นต่างชาติ หรืออเมริกัน เขาจะหาทุนให้ทุกคน
แต่มหาลัยในอังกฤษแทบไม่มีทุนระดับป.ตรี ให้นักรียนต่างชาติเลย
(แน่นอนอยู่แล้ว ก็เขารับนักเรียนต่างชาติเพื่อจะได้เก็บตังค์เยอะๆ หนิ)
จะมีทุนบ้าง ก็ในระดับป.โท ป.เอก (แต่ก็ต้องแลกด้วยการทำวิจัยให้เขา)

ธุรกิจการศึกษาเป็นธุรกิจทำเงินให้ประเทศอังกฤษเป็นจำนวนมหาศาล
เป็นเนื้อเป็นหนัง เป็นธุรกิจหลัก เป็นวิธีทำมาหากินของเขา

ผมสังเกตดูรู้สึกว่าการจัดอันดับของหนังสือพิมพ์เดอะไทม์สของอังกฤษ
มักจะให้มหาวิทยาลัยอังกฤษอยู่อันดับสูงเว่อร์ๆ ทุกครั้ง ทั้งๆ ที่ดูคุณภาพแล้ว ไม่น่าถึงขนาดนั้น
ผมอดสงสัยไม่ได้ว่ามันมี Hidden Agenda เพื่อโปรโมท เพื่อสร้างภาพลักษณ์
ทำมาร์เก็ตติ้งให้กับมหาลัยอังกฤษหรือเปล่า (เหมือนที่ประเทศไทยพิ่งพาธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างมาก ก็ต้องสร้างภาพลักษณ์ประเทศดีๆ)

คนไทยเราเป็นลูกค้าก็ควรศึกษาหาข้อมูลให้ดี และรู้เท่าทันสำนักจัด Ranking ต่างๆ
ไม่ควรไปหลงไหลได้ปลื้มกับภาพลักษณ์ ที่เขาทำมาหลอกเรา
ที่เขียนมานี้ ไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่ดูแคลนสถาบัน ศิษย์เก่า หรือศิษย์ปัจจุบันของสถาบันใดๆ
ที่ผมกล่าวพาดพิงข้างต้นนะครับ ผมแสดงความเห็นไปตามเนื้อผ้า ตามสิ่งที่รับรู้และประสบพบมากับตัวเอง
เพราะผมเองก็เรียนมาทั้งที่อเมริกาและอังกฤษ ชื่อมหาลัยที่ผมกำลังเรียนและที่เคยเรียน ก็ปรากฏอยู่ในเนื้อข่าวทั้งสองมหาลัย
แต่ถ้าใครมีข้อมูลหรือความคิดเห็นเป็นอย่างอื่น ก็ลองเอามาแชร์กันบ้างนะครับ

น้อง Tao113 ตอบได้ตรงใจมากครับ

Ranking พวกนี้จะว่าไปก็ค่อนข้าง subjective as the nature of this subject itself.

หลายครั้งมี "politics" และ "เงิน" เข้ามาเกี่ยวข้อง

ขออนุญาตยกตัวอย่างแต่อาจต้องพาดพิง (ขออภัยมา ณ ที่นี้ล่วงหน้า... แต่มันเป็นเพียงแค่ความเห็นส่วนตัวของผม )

ในชั่ว ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา ผมเห็น Ranking มามากพอควร ในหลายๆ polls... หลากหลายสาขา...

ผมต้องบอกเลยว่าบางทีคุณภาพของ Program/School มันไม่ได้ถึงระดับที่เขาจัดไว้... [พาดพิง now] อย่างบางโรงเรียนพยายามสร้าง/ตั้งชื่อ program การเรียนให้ unique กว่าที่อื่น เพื่อจะได้ rank ดี เวลาเขาถามถึงโรงเรียนที่ Specialized ในด้านนั้นๆ ที่นี่จะขึ้นมาที่หนึ่งทันที แต่ขอโทษผมมีโอกาสเดินทางไปหลายที่ ไปเห็นไปสัมผัสโรงเรียน MBA โรงเรียนนี้ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของ Phoenix, Arizona.... โรงเรียนนี้เป็นที่หนึ่งตลอดกาลในสาขานั้นแต่ it's not up to what we expected ครับ ... ต้องระวังมากอย่างที่ Tao113 ว่า... ผมสังเกตอีกอย่างว่าโรงเรียนพวกนี้จะเลี้ยงต้อนรับคณะคนจัดทำ Rank ดี over เวลามีการขอเข้าเยี่ยมชม... ก็นั่นแหละครับ มันอาจจะเป็นปรกติ แต่ก็เห็นได้ว่า เรื่องของ Relationship ระหว่างคนจัด Rank กับ Institutions มีผล...

กลับมาที่ Ranking ข้างบน ถ้าพูดถึง Top Ten overall... ตามความเห็นของผม(subjective ตาม my humble opinion) อันดับที่ 8 และ ที่ 9 ไม่น่าจะติด World's Top Ten อาจจะเป็น Top 20 หรือ 25....

ส่วน Princeton น่าจะเลื่อนขึ้นได้บ้างเพราะเข้ายากจริงๆ ในตอน undergraduate level [ผมมีเพื่อนและรู้ชื่อคนไทยที่จบจากที่นี่แบบนับคนได้].... แต่อย่างว่าโรงเรียนพวกนี้เขามี Quota ว่าจะรับนักเรียนต่างชาติๆกี่คนๆ เพื่อให้ Student Body ของเขา Mix อย่างใจเขา ... Princeton มี Scholars ระดับ Nobel Laureates หลายคน แถมไม่รับนักเรียน Transfer... แปลว่านักเรียนที่จะจบที่นี่ต้องเข้ามาตั้งแต่ปี ๑ ไม่มีการรับนักเรียนในปีอื่นๆเหมือนที่อื่นในสหรัฐที่เขารับกัน... และ Princeton ก็ช่วยนักเรียนมากที่สุดในเรื่องของ Scholarship/Financial Aids ในการเรียน...

อย่างมหาวิทยาลัยปักกิ่งในจีนผมก็ยังว่าอาจจะแพ้ "ม.ชิงหัว" ซึ่งอยู่ในปักกิ่งเหมือนกัน...

...ด้วยเหตุผลเหล่านี้...ผมจึงคิดว่า Ranking ของ The Times (และอาจจะเกือบทุก Ranking ก็ว่าได้) มีปัญหาแน่นอน... และเห็นพ้องกับน้อง Tao113 ครับที่เขาลำเอียง Pro UK Schools แน่นอน... แต่ก็คงว่าเขาไม่ได้เพราะถ้าไทยเรา Rank เองเราอาจจะบรรจุ มหา'ลัย ของไทยเข้าไปบ้างเพื่อเป็นหน้าเป็นตา...

แต่ที่น่าคิดคือ ผู้ใหญ่ของไทยมักจะอ้างอิงจาก Ranking นี้แบบเป็นคัมภีร์เลย... โดยที่อาจลืมไปว่าความแน่นอนคือความไม่แน่นอน...

........

สุดท้ายผมจะลองลิสต์ตัวอย่างเด็กสวนฯที่จบจาก Top Ten Schools ข้างต้น [อาจเป็น ตรี โท หรือ เอก ก็ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาสุดท้ายที่นั่น]:

1) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard, not Howard).. น้องสนิทวงศ์ จงสฤษดิ์หวัง OSK112 -- Harvard Business School (HBS)
2) มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์... ดร.อาศิส อัญญะโพธิ์ OSK111, ดร.รัชภูมิ บุญรอด OSK110, etc.
3) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ...ดร.สุวิทย์ มังคละ OSK110, etc.
4) สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์... ดร.ยรรยง ไทยเจริญ OSK106, ดร.ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์ OSK87, etc.
5) มหาวิทยาลัยเยล... นพ.ดร.สมชาย เหล่าวัฒนา OSK104
6) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (not Stamford )... ดร.ชัยสิทธิ์ มโนวิทย์ OSK112, ดอนและดอย จรรย์ศุภรินทร์ etc. [ป.โท ที่แสตนฟอร์ดเข้าไม่ยากนัก แต่เอกค่อนข้างยากถึงยากมาก]
7) สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย....ดร.พงศกร สายเพ็ชร์ OSK105 --พี่พงศกรเป็นคนไทยที่สอบได้คะแนนเต็ม 1600/1600 จากการสอบ SAT ..perfect score คนแรกและคนเดียวของไทย, วาที่ ดร.เต้ย บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน OSK113
8)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กเลย์ในสหรัฐ... โสภณ อัศวานุชิต OSK111, อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์ OSK110, ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย OSK114 (เสียดายว่าคุณพ่อ OSK71 ของน้องนะ พิพัฒน์ ซึ่งอยู่รุ่นเดียวกับท่านนายกฯใหม่ ได้ด่วนจากไป..ไม่งั้นพิพัฒน์คงเข้าโผได้ช่วยชาติก่อนวัยอันควร อิๆ ), ดร.จิตติชัย รุจนกนกนาฏ OSK114, etc.
9) อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน... เด็กทุนไทยมาเรียนที่นี่เยอะมาก อาทิ ผศ.ดร.ชวลิต กิตติชัยการ OSK109 [ไปจบเอกที่ Oxford], etc.
10) มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน....ยังนึกชื่อเด็กสวนฯที่จบจากที่นี่ไม่ออก
_________________
If a fool would persist in his folly, he would become wise.
- WILLIAM BLAKE, English artist and poet (1757 - 1827)

By : ( IP : ...xxx ) (Read 756 | Answer 0 2008-03-30 13:44:41 )
 

จำนวนผู้เข้าชมเว็บทั้งหมด 230592 คน

ชมรมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 96 100/397-398 หมู่บ้านมณียา ถ.รัตนาธิเบศธ์ ซ.ท่าอิฐ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ติดต่อท่านประธาน > kematat.p@hotmail.com ติดต่อเว็บมาสเตอร์ >webmaster.osk@gmail.com
Produced By Permpoon C. and Powered by: StartUp Design and Network Co.,Ltd.