|
|
|
หัวข้อ :ขอเป็นกำลังใจให้พี่ดวงภัทร เจริญทรัพย์ OSK92? [ No. 44 ] |
|
รายละเอียด :
ขอเป็นกำลังใจให้พี่ดวงภัทร เจริญทรัพย์ OSK92? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)
แพทย์ระบุมาลาเรีย รักษาหายแต่ต้องไม่ซื้อยาเอง
อาการของพี่ดวงภัทร เจริญทรัพย์ OSK92? เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 8 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งป่วยด้วยโรคมาลาเรียขึ้นสมอง จากเชื้อมาลาเรียชนิดรุนแรง ?ฟัลซิพารั่ม? น.พ.ศรชัย เปิดเผยว่า ขณะนี้อาการโดยทั่วไปของนายดวงภัทร ปลอดภัยและพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ยังต้องอยู่ รพ. อีก ระยะหนึ่งจนกว่าร่างกายจะฟื้นตัว แพทย์คงต้องนัดมาตรวจทุกสัปดาห์เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อมาลาเรียหมดจากร่างกายแล้ว
ส่วนที่จังหวัดลพบุรี หลังมีข่าวลิงติดเชื้อมาลาเรียและอาจแพร่ไปสู่คน น.พ.นพพร พงษ์ปลื้มปิติชัย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี และนายสัตวแพทย์ชุมพล บุญรอด หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาสุขภาพสัตว์ นำเจ้าหน้าที่ออกสังเกตการณ์ลิงที่ศาลพระกาฬ น.พ.นพพรกล่าวว่า ที่ผ่านมายังไม่พบเชื้อในจังหวัดลพบุรี หากมีลิงลักษณะซูบผอม ขนหลุด ผิดปกติ ก็จะนำไปตรวจ ลิงไม่สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้ ถ้าไม่มีตัวนำคือยุงก้นปล่อง การพ่นยากำจัดยุงเป็นการแก้ปัญหาไม่ ถูกต้อง วิธีแก้ควรฆ่าลูกน้ำ โดยชาวบ้านต้องช่วยกันใช้ทรายอะเบทใส่ในแหล่งน้ำที่มีลูกน้ำ
ที่ จ.ตราด น.พ.สมสินธุ์ ฉายวิจิตร สาธารณสุขจังหวัดตราด กล่าวถึงการติดเชื้อมาลาเรียบนเกาะช้างว่า ลดลงมาก สำหรับผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ มาจากแนวชายแดน และข้ามไปทำงานที่เกาะช้าง ส่วนนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์และกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนฯ เปิดเผยว่า ที่มีข่าวว่าอาจมีการติดเชื้อจากลิงใน จ.ประจวบคีรีขันธ์นั้น เป็นเรื่องการวิจัยของนักวิชาการที่อาจเพาะเชื้อจากลิงแสม ชาวบ้านไม่ควรตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเข้าใกล้ลิงหรือค่างแว่นที่อยู่ในพื้นที่ และอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาแถลงให้ชัดเจน
วันเดียวกัน น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงโรคไข้มาลาเรียที่ระบาดอยู่ในภาคใต้ ว่า มีการระบาดเป็นช่วงๆในเขตป่าลึก อุทยาน ไม่ได้ ระบาดทั่วไปตามเขตตัวเมือง ชุมชน ได้สั่งการให้กรมควบคุมโรคลงพื้นที่ให้ความรู้ในการป้องกันโรค ต่อประชาชนในเขตที่มีการระบาดของโรคแล้ว หรือหากพบผู้ป่วยให้รีบนำตัวมารักษาทันที ประเทศไทยมีความ ชำนาญเรื่องการป้องกันไข้มาลาเรีย และการรักษาที่ได้มาตรฐานสากล โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นศูนย์วิจัยโรคไข้มาลาเรียอยู่ในอันดับต้นๆของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก สามารถพัฒนา ยาใหม่ๆและกำลังวิจัยการพัฒนาวัคซีนแก้ไข้มาลาเรีย
น.พ.สุชัยกล่าวว่า ส่วนปัญหาแรงงานต่างด้าวตามแนวชายแดน ที่เป็นตัวแพร่เชื้อไข้มาลาเรียนั้น ขอชี้แจงว่า การระบาดของโรคนี้ระหว่างคนสู่คนในวงกว้างเป็นไปได้น้อยมาก เพราะยุงจะต้องไปกัดเชื้อมาลาเรียในเม็ดเลือดแดงของคนที่มีอยู่เป็นล้านเม็ด แต่จะมีเชื้อที่มีไข้มาลาเรียเพียงแค่เม็ดเดียวจากล้านเม็ด ดังนั้นโอกาสที่ยุงจะไปกัดเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรียอยู่จึงเป็นไปได้น้อย
ความคืบหน้ากรณีมีการพบเชื้อโรคไข้มาลาเรียในลิงและหวั่นกันว่าอาจแพร่ไปสู่คนนั้น น.พ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ว่า ในทางวิชาการมีการตรวจพบได้อยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยพบเชื้อแพร่จากลิงมาสู่คน การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการไทย แต่ประชาชนไม่ต้องวิตกตื่น ตระหนกหรือทำลายลิงแต่อย่างใด ส่วนการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ยุงก้นปล่องกัด เนื่องจากยุงชนิดนี้เป็นตัวนำเชื้อโรคไปติดคนอื่นได้
สำหรับสถานการณ์โรคมาลาเรียในประเทศไทย น.พ.ธวัชกล่าวว่า ในภาพรวมไทยสามารถควบคุมโรคได้ โดยพบเฉพาะจังหวัดตามแนวชายแดนไทย-พม่า และกัมพูชา ช่วงโรคชุกชุมที่สุดคือเดือน พ.ค.-มิ.ย. โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-31 พ.ค.นี้ พบผู้ป่วยมาลาเรีย 15,831 ราย เป็นคนไทย 7,681 ราย ต่างชาติ 8,150 ราย ขณะที่ทั่วโลกพบโรคนี้ปีละ 300 ล้านคน เสียชีวิตปีละประมาณ 1 ล้านคน มาตรการรักษาของไทยถือว่ามีประสิทธิภาพมาก มียารักษาได้หายขาดทุกราย เชื้อที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (Plasmodium Vivax) และพลาสโมเดียม ฟาลิพารัม (Plasmodium Faliparum) โดยพบครึ่งต่อครึ่ง
อธิบดีกรมควบคุมโรคยังกล่าวด้วยว่า ผู้ป่วยที่เสียชีวิตนั้น เนื่องจากปล่อยให้โรคลุกลามเป็นมาก แล้วจึงมาพบแพทย์ ส่วนใหญ่จะเป็นต่างด้าวมากกว่า โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ หากจำเป็นต้องเข้าป่าแนะนำให้สวมเสื้อผ้าปกปิดมิดชิด นอนในมุ้งหรือมุ้งลวด หรือในเต็นท์ที่ปิดมิดชิด ทายาป้องกันยุงกัด ยุงก้นปล่องเป็นยุงที่อาศัยในป่า ออกกัดคนตอนกลางคืน วางไข่ตามลำธารน้ำใสสะอาด หลังออกจากป่า 10-14 วัน หากเป็นไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น ขอให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ให้บอกประวัติแก่แพทย์ด้วยว่า เคยเข้าป่าที่ใด โรคนี้อย่าซื้อยากินเอง เมื่อป่วยแล้วสามารถป่วยซ้ำได้อีกหากถูกยุงก้นปล่องกัด ขณะนี้กรมฯมีหน่วยมาลาเรียเคลื่อนที่เร็ว ออกให้บริการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ กระจายตามจังหวัดชายแดนที่มีผู้ป่วย หากสงสัยว่าติดเชื้อ ไปขอรับการตรวจได้ฟรี และรักษาฟรี ส่วนการควบคุมยุงเน้นการพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่ มั่นใจว่าสถานการณ์จะกลับเข้าภาวะปกติใน 2 เดือนนี้
ด้าน ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้ อย. ได้อนุญาตให้มีการทดลองยารักษาโรคมาลาเรียในประเทศไทยแล้ว โดยก่อนหน้านี้ได้มีการทดลองที่อินเดีย โดยทีมของ ศ.น.พ.ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ หัวหน้าหน่วยโรคเขตร้อนในภาวะวิกฤติ รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน การทดลองในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาโรคที่เกิดขึ้น
ด้าน น.พ.ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ หัวหน้าหน่วยโรคเขตร้อนในภาวะวิกฤติ รพ.เวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงเรื่อง การทดลองยารักษาโรคมาลาเรียว่า เป็นการทดลองยาสังเคราะห์ที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทดลองในสัตว์ทดลอง รวมถึงอาสาสมัครชาวอินเดียแล้ว ปรากฏว่าได้ผลดี ที่ผ่านมาได้ใช้ยาดังกล่าวรักษาผู้ป่วยไปแล้ว 72 รายแล้ว พบว่า ยาสามารถฆ่าเชื้อมาลาเรียได้ ตอนนี้ได้ทดลองเพิ่มอีก 100 ราย โดยจะให้ยาในโดสที่เหมาะสมเพื่อเปรียบเทียบกับยาสูตรเดิม
?ยารักษาโรคมาลาเรียที่ทดลองในครั้งนี้ คาดว่าจะสามารถขึ้นทะเบียนยาในประเทศไทยและทั่วโลกภายใน 2 ปี โดยตั้งใจว่าจะให้ยามีราคาประมาณ 1 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 40 บาท ต่อการรักษา 1 ครั้ง ซึ่งมีราคาถูก ที่สุด เพราะยารักษามาลาเรียในปัจจุบันราคาประมาณ 150-200 บาทต่อครั้ง ยากลุ่มดังกล่าวมาจากสมุนไพรจีน จิงเห่าซู่ ซึ่งขณะนี้แอฟริกาปลูกไม่ทัน กำลังขาดตลาดไม่สามารถนำมาผลิตยาได้ทัน ดังนั้น จึงต้องมีการสังเคราะห์ ยาขึ้นมาแทน เพราะมีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 500 ล้านคน ที่รอยาชนิดนี้อยู่ ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากเอ็ม เอ็มวี เป็นองค์การอิสระที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยค้นคว้ายา สำหรับรักษาโรคมาลาเรียโดยเฉพาะ? น.พ.ศรชัยกล่าว
น.พ.ศรชัยกล่าวด้วยว่า ยารักษาโรคมาลาเรียที่กำลังทำการวิจัย ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาวันละครั้ง ภายใน 3 วัน จะหายเป็นปกติ ขณะที่ในปัจจุบัน การรักษา โรคมาลาเรียจะต้องกินยา 2 ชนิดควบคู่กัน คือ ชนิดหนึ่งมี 21 เม็ด และอีกชนิด 28 เม็ด กินติดต่อกันนาน 7 วัน จึงจะหาย แต่เนื่องจากเมื่อคนไข้กินไม่ครบตามที่กำหนดทำให้เกิดการดื้อยา บางคนกินไม่ถึง 7 วัน ก็หยุดกิน เพราะมีผลข้างเคียง คือทำให้หูอื้อ เดินเซ อย่างไรก็ตามหากคนไข้มาลาเรียมาพบแพทย์เร็ว ขณะที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนรับรองว่าการรักษาหายขาด แต่ที่คนไข้เสียชีวิต เพราะมาลาเรียขึ้นสมอง ทำให้อัตราการตายสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตมีถึง 20% และหากกินยาไม่ครบเชื้อจะกลับมาอีก แต่ถ้าคนไข้กินยาครบรับรองหายแน่
ต่อข้อถามถามถึงมาลาเรียที่พบในลิง น.พ.ศรชัย กล่าวว่า ปกติมาลาเรียที่พบใน ลิง ช้าง ไก่ หนู คน จะไม่ย้ายพวกกัน แต่กรณีของมาลาเรียลิงอาจจะบังเอิญมาถึงคนได้ แต่จะไม่สืบเนื่องต่อไปได้ หลายๆช่วงชีพ ไม่แพร่พันธุ์ และอาการไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต มีเพียงอาการหนาวสั่น กินยารักษามาลาเรียคนก็หาย พบมากที่ประเทศมาเลเซีย โดยจะพบอยู่ในลิง หากเข้าไปในป่าลึกก็อาจจะติดต่อมาสู่คนได้ผ่านทางยุงก้นปล่อง
ที่มา: http://www.thairath.com/thairath1/2548/page1/jun/15/p1_1.php
By :
( IP : ...xxx )
(Read 533 | Answer 0 2008-03-30 13:44:41 )
|
|
|
|
|
|
|
|
|