คลิกเลือกไปหน้าแรก
ชาวสวน'92เข้าสูระบบ
คลิกดูกำหนดการได้ที่วันที่ในปฏิทิน
ธันวาคม - 2567
พฤ
อา
25
26
27
28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1
2
3
4
5
 

@คณะกรรมการชมรม
@ตัวแทน/ผู้ประสานงาน
@วิสัยทัศน์ ค่านิยม ยุทธศาสตร์
@ระเบียบการบริหารงาน
@ระเบียบว่าด้วยเงิน
@รักรุ่นจริงไม่ทิ้งกัน
@บัญชีสถานะการเงิน
@เพลงสวน

คลิกเพื่อเลือกชมและบันทึกข้อความ
คลิกเพื่อดูหรือ post ข่าว
 คลิกเพื่อดูหรือ post จดหมายเวียน
คลิกเพื่อดูหรือ post กำหนดการทำบุญบริจาคโลหิต
คลิกเพื่อดูหรือ post เข้าบอร์ดเพื่อนช่วยเพื่อน
คลิกเพื่อดูหรือ post รายละเอียดธุรกิจของเพื่อน
คลิกเพื่อดูหรือ post คลิปโดนๆของชาวสวน 96
คลิกเพื่อดูหรือ post ภาพกิจกรรมของชาวสวน 96
คลิกเพื่อฝากข่าวสารถึงท่านประธาน
คลิกเพื่อฝากข่าวสารถึง webmaster
คลิกเพื่อดูหรือ postข่าวสารทางวิชาการจากสวน 96
คลิกเพื่อดูหรือ postคำคม,ปรัชญาชีวิต
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องซุบซิบนินทา
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องของครอบครัวสวน  96
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องสันทนาการ

  คลิกเพื่อลิ้งค์ไปสู่หน้าเวปสวนกุหลาบ
  คลิกเพื่อลิ้งค์ไปสู่หน้าเวป OSKNETWORK


หัวข้อ :"ทีมฟุตบอลสวนกุหลาบ"   [ No. 457 ]  
รายละเอียด :
นำบทความ จากหนังสือ "สมานมิตร" รุ่น ๑๐๗ พ.ศ.๒๕๓๑ มาฝาก เพื่อทราบประวัติความเป็นมา ศักดิ์ศรี เกียรติยศ ของ "ทีมฟุตบอล" ของเรา แม้จะไม่ครบถ้วน หากมีโอกาส ได้พบ ฮีโร่ของเราเมื่อไหร่ จะสอบถาม หาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ทีมฟุตบอลสวนกุหลาบีรัรัรัรีรัรีรีรีรีรีรีรีรีรีรีรีรีรีรีรีรีรีร
(๑)
๒๔๕๓

สวนกุหลาบครองถ้วยครั้งแรก
นับตั้งแต่ฟุตบอลได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ตามโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะโรงเรียนมัธยม ก็เริ่มนิยมเล่นฟุตบอลกันมากขึ้น ก่อน ปี พ.ศ.๒๔๕๓ ทีมฟุตบอลโรงเรียนสวนกุหลาบยังไม่เคยครองความชนะเลิศเลย ในปีดังกล่าว โรงเรียนสวนกุหลาบได้ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันซึ่งจัดโดยกระทรวงธรรมการ ทีมสวนกุหลาบสามารถชนะคู่ต่อสู้มาหลายโรงเรียน ที่สำคัญได้แก่ โรงเรียนแพทยวิทยาลัย โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ โรงเรียนคริสเตียน จนมาถึงรอบชิงชนะเลิศ คู่ชิงชนะเลิศคือ โรงเรียนอัสสัมชัญ คู่ต่อสู้ของทีมสวนกุหลาบทุกทีมนั้นก็ล้วนแต่มีอายุและรูปร่างสูงใหญ่กว่าทั้งสิ้น ทีมอัสสัมชัญนั้น นักฟุตบอลก็ล้วนแล้วแต่มีอายุ ๑๘-๒๐ ปีแต่เป็นทีมที่มีทักษะ ประกอบกับมีครูฝึกดี ซึ่งในสมัยนั้นได้แก่ อาจารย์กอดเฟรย์ และเป็นทีมที่มีกำลังวังชา คือ วิ่งไม่เหนื่อย การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศนี้ กระทรวงธรรมการ ได้จัดให้มีขึ้นที่ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จ ก่อนการแข่งขันนัดนี้มีคนดูเข้าชมมากเป็นประวัติการณ์
หลังจากทั้งสองฝ่ายลงสนามแล้วการแข่งขันก็เริ่มขึ้น แบ๊คของทีมอัสสัมชัญนั้นชื่อ นายซัวเล็ก และ นายฮ่องไถ่ มีรูปร่างสูงใหญ่ทั้งคู่ แต่ทีมสวนกุหลาบก็มี พระปวโรฬารวิทยา มีตำแหน่งเป็น เซ็นเตอร์ฟอเวอร์ด เป็นตัวก่อกวนแบ๊คของอัสสัมชัญ เนื่องจากมีรูปร่างล่ำสันเป็นมะขามข้อเดียว ในครึ่งแรก ต่างฝ่ายต่างทำประตูกันได้คนละ ๑ ประตู ในครึ่งหลัง ต่างฝ่ายต่างผลัดกันรุก-รับ แต่ก่อนหมดเวลา ๑ นาที แบ๊คของโรงเรียนอัสสัมชัญเตะลูกอย่างแรงจนถึงเส้นฮาร์ฟของทีมโรงเรียนสวนกุหลาบ หลวงอาจพยากรณ์ เซ็นเตอร์ ได้เตะลูกสวนกลับไปเข้าที่หัวมุมประตูพอดี หลังจากนั้นอีกเล็กน้อยก็หมดเวลา เป็นอันว่าสวนกุหลาบครองตำแหน่งชนะเลิศเป็นปีแรก ได้รับพระราชทานจากล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ที่สโมสรสามัคยาจารย์เป็นเหรียญเงิน เป็นรูปคนเล่นฟุตบอล สลักชื่อสำหรับติดหน้าอก โดยจารึกว่า ?เล่นเป็นใจนักเลง? ซึ่งนับเป็นรางวัลชิ้นแรกและทีมสวนกุหลาบได้ตำแหน่งชนะเลิศฟุตบอลเป็นครั้งแรก
จากบทความ ทีมฟุตบอลของสวนกุหลาบ
โดย พระยาโทณวณิกมนตรี
หัวหน้าทีมชนะเลิศ พ.ศ.๒๔๕๓
ตีพิมพ์ใน สวนกุหลาบอนุสรณ์ ๒๔๙๙

(๒)
๒๔๖๙-๒๔๗๓

นับตั้งแต่ปี ๒๔๕๓ ที่ทีมสวนกุหลาบได้ตำแหน่งชนะเลิศเป็นต้นมา โรงเรียนสวนกุหลาบได้มีการจัดทีมฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันตลอดมา และได้เริ่มการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในระหว่างห้องขึ้น ในชั้น ม.๗ และ ม.๘ และถือว่าเป็นการคัดตัวนักกีฬาด้วย อาจารย์ผู้ควบคุมทีม อ.ซัตตั้น ชาวอังกฤษซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่และยังมี อ.สวัสดิ์ เลขยานนท์ อ.หนู อมาตยกุล เป็นผู้ช่วย การแข่งขันฟุตบอลรุ่นใหญ่และกลางแข่งที่สนามโรงเรียนสวนกุหลาบ ซึ่งถือว่าเป็นสนามกีฬาแห่งชาต ส่วนรุ่นเล็กใช้สองสนามคือ สนามโรงเรียนสวนกุหลาบและ สนามโรงเรียนเทพศิรินทร์ การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามความสูง คือ รุ่นเล็กไม่เกิน ๑๕๐ ซม. รุ่นกลางไม่เกิน ๑๖๐ ซม.รุ่นใหญ่สูงเกินกว่า ๑๖๐ ซม. การเตะฟุตบอลก็จะเตะกันเท้าเปล่า ไม่มีรองเท้าให้สวมใส่เหมือนปัจจุบัน
ก่อนลงทำการแข่งขัน อ.ซัตตั้น จะเรียกผู้เล่นเข้าหอประชุมเพื่อวางแผนการเล่น ทีมฟุตบอลที่โด่งดังในช่วงเวลานั้น นอกจากทีมสวนกุหลาบแล้ว ก็ยังทีมอัสสัมชัญ ในระดับที่รองลงมาก็คือ ทีมเทพศิรินทร์ และ ทีมกรุงเทพคริสเตียน ดาราฟุตบอลของทีมสวนกุหลาบได้แก่ แอ๊ด สุจริตกุล และ ทองต่อ (ต่อศักดิ์) ยมนาค เป็นศูนย์หน้าและเป็นหัวหน้านักกีฬาของโรงเรียนทั้งหมด นอกนั้นก็มี ชลอ เอมะศิริ เป็นปีกขวาที่วิ่งไวมาก บุตร เสมะเสถียร และ ถวิล รายนานนท์ เป็นแบ๊ค พิเศษ เป็นเซ็นเตอร์ฮาล์พ ผู้รักษาประตูได้แก่ ม.ร.ว.บุญมาก ซึ่งทำการแข่งขันจนได้รับรางวัลชนะเลิศรุ่นใหญ่ในปี ๒๔๗๓ และยังเป็นปีแรกที่สวนกุหลาบได้รับรางวัลพระราชทานชนะเลิศ
ผู้เล่นดังกล่าวนี้ภายหลังจบจากโรงเรียนสวนกุหลาบแล้ว ก็ยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ โดยครั้งแรกจัดการแข่งขันที่ท้องสนามหลวง และบางครั้งก็ยังมีการจัดแข่งขันที่สนามโรงเรียนสวนกุหลาบด้วย สำหรับการเชียร์นั้น นักเรียนสวนกุหลาบจะขึ้นชมการแข่งขันบนชั้นที่ ๒ ของอาคารสวนกุหลาบ การเชียร์ก็มีเพียงร้องตะโกนว่า ?ชู้ต ชู้ต? เท่านั้น ยังไม่มีเพลงเชียร์เหมือนปัจจุบัน
ระยหลังประมาณปี ๒๕๑๐ ก็เริ่มมีการตบมือแบบโค้ดสมัยนี้ เป็นรูปต่างๆและมี วี๊ดบึม ซึ่งมาจากพวกมหา?ลัย พอแข่งฟุตบอลเสร็จก็จะร้องเพลงโรงเรียนเป็นประเพณี
จากบทสัมภาษณ์
พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ ยมนาค
นักฟุตบอลสวนกุหลาบ ปี ๒๔๖๙

(๓)
อ.เฉลิม ไทยวงศ์
๒๔๗๘-๒๔๙๕

อยากทราบ อาจารย์ใหญ่สมัยที่อาจารย์ทำทีมฟุตบอลอยู่
-หลวงบุญญปาลิศ วิชชาศาสตร์

ระหว่างที่ อาจารย์คุมทีม มีผู้ช่วยบ้างหรือไม่
-สมัยนั้นมี อ.หนู อมาตยกุล และ ครูกระจ่าง ชมแข บางครั้งก็มีนักเรียนซึ่งเป็นนักฟุตบอลเก่าของโรงเรียนมาช่วย

อยากทราบนโยบายของโรงเรียนต่อกีฬาสมัยนั้น
-ก็สนับสนุนดี แต่ส่วนใหญ่ไม่มีงบ ผู้ทำทีมต้องออกทุนเองบ้าง

ชื่อเสียงของทีมช่วงนั้นเป็นอย่างไร
-อยู่ในเกณฑ์ดี ถ้าส่งแข่งก็ชนะได้ตำแหน่งเสมอ ทั้ง ๓ รุ่น มีรุ่นเล็กไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร, รุ่นกลางไม่เกิน ๑๖๐ เซนติเมตร,รุ่นใหญ่เกิน ๑๖๐ ขึ้นไป ไม่แบ่งตามอายุ

การคัดเลือกนักกีฬา
-ก็จะมีการจัดแข่งกีฬาแล้วก็มองหาคนที่เล่นได้ดี เสร็จแล้วก็จับมาฝึกอีก แต่ที่สำคัญ คือควรจะมีลักษณะ ๑.ใจสู้ ๒.แข็งแรง ๓.เชื่อฟังผู้ฝึก สนามแข่งขันฟุตบอลสมัยนั้น และชุดที่นักกีฬาที่ใส่ส่วนใหญ่ก็จะแข่งที่สนามของโรงเรียนเราเอง เพราะก็ถือเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ นักกีฬาใช้เสื้อเชิ๊ตสีชมพู-ฟ้า ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเสื้อยืด

มีการเตะฟุตบอลประเพณีกับทีมใดหรือไม่
มี เมื่อก่อนมีการเตะประเพณีกับเทพศิรินทร์

อยากให้อาจารย์อธิบายถึงทีมฟุตบอลสวนกุหลาบสมัยนั้น
-เราก็ซ้อมกันตอนเช้า บางครั้งก็มีการเก็บตัวกันบ้าง นักกีฬาส่วนใหญ่จะเรียนดีด้วย เช่น ประหยัด สังขวนิช สุทธิรักษ์ สิทธิมาริก สามารถ จันทนผลิน ฟุตบอลเตะกันเท้าเปล่า เวลาแข่งก็ถือสูตร กองหน้า ๕ กองกลาง ๓ กองหลัง ๒ ต่างกับสมัยนี้มาก

สมัยนี้ เมื่อแข่งฟุตบอลเสร็จจะมีการร้องเพลงโรงเรียนเป็นประเพณี ไม่ทราบว่าสมัยของอาจารย์มีประเพณีอย่างนี้บ้างหรือไม่
-มี เพิ่งเริ่มในปีไหนจำไม่ได้ แต่ผู้ที่เริ่มครั้งแรกคือ อาจารย์เจ็งฮ้อ (จำนามสกุลไม่ได้)

ไม่ทราบว่า มีเพลงสีงามหรือไม่
มี มีนานแล้ว ถ้าจำไม่ผิดคิดว่าคนแต่งชื่อ พยัพ ดวงพัตรา

อาจารย์มีอะไรจะพูดกับทีมสวนกุหลาบปัจจุบัน
-อยากให้รักษาชื่อเสียงไว้ นักกีฬาต้องเรียนให้ดีด้วย เชื่อฟังผู้ฝึก และมีน้ำใจนักกีฬา

(๔)
อ.ผล ใจสว่าง
๒๔๙๘-๒๕๑๗

อาจารย์เริ่มทำทีมฟุตบอลเมื่อไร
-ปี๒๔๙๘ สมัย อ.นพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

อยากให้อาจารย์พูดถึงสภาพของสวนกุหลาบ
-สมัยก่อนมีครู ๔๐ คน นักเรียน ๑,๔๐๐-๑,๕๐๐ คน มีครูพละคนเดียว คือ อ.เพี้ยน เช้าก็ลุกขึ้นวิ่งซ้อมกัน บ้านนักเรียนก็อยู่ใกล้โรงเรียน ความผูกพันระหว่างโรงเรียนกับนักเรียนมีมาก นักกีฬาเป็นคนเรียนเก่ง ที่พอจะจำได้ก็ วิชิต แย้มบุญเรือง, ธรรมนูญ ดวงมณี และก็มี ทวีพงศ์, กนก, ประวัตร สามคนหลังนี้จำนามสกุลไม่ได้

การคัดเลือกตัวนักกีฬา
-ครูเองเป็นคนเริ่มจัดให้มีการแข่งขันกีฬาภายในซึ่งต่อมาก็คือ กีฬาสี พูดได้ว่า สวนกุหลาบเป็นโรงเรียนแรกที่มีการแข่งขันกีฬาสี ทุกห้องต้องมีทีม ก็แข่งขันทุกวันเสาร์ ๘ คู่บ้าง ๑๐ คู่บ้าง ครูก็นั่งเป็นกรรมการ เป่านกหวีดอยู่บนตึกยาว ชั้น ๒ จะลงไปวิ่งมันไม่ไหว เพราะวันเดียว บางทีตั้ง ๑๐ คู่ เริ่มจัดประมาณปี ๒๕๐๐ ต่อมาบางทีก็มีรุ่นพี่ที่จบไปแล้วมาช่วย อันนี้เวลานักเรียนแข่งครูก็พยายาม มองหาคนที่เล่นดี

การซ้อมและการฝึกสอน
-ปรกติก็ซ้อมเช้า ๐๖.๐๐-๐๗.๓๐ อาบน้ำ กินข้าว แล้วก็เรียน ถ้าเป็นนัดที่สำคัญก็มีการเก็บตัว ซ้อม เช้า เย็น ธรรมดา

คู่แข่งของทีมสวนกุหลาบสมัยนั้น
-ก็มีทีมเทพศิรินทร์ ทีมนี้แข่งกับเรามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เลย ระยะหลังก็มีปทุมคงคา

ทีมฟุตบอลสวนกุหลาบมีสภาพอย่างไร
-ครูเข้ามาก้ปี ๒๔๙๘ เริ่มมีการแข่งขันภายใน เหย้า-เยือน ระหว่างเทพศิรินทร์, วัดบวรนิเวศ, สวนกุหลาบ โรงเรียนไหนมีสนามก็แข่งที่นั่น ปี ๒๔๙๙ สมาคมฟุตบอลฟื้นฟูฟุตบอลระดับเตรียมอุดม ทีมที่เข้าแข่งและมีชื่อเสียงมากหน่อยก็มี อำนวยศิลป์ เตรียมนายเรืออากาศ เตรียมอุดม เทพศิรินทร์ ปีนั้นเราได้รองชนะเลิศ เราไปแพ้ อำนวยศิลป์ ๒ : ๑ ในนัดชิงชนะเลิศ ต่อมาปี ๒๕๐๑ เราหวังมาก พอเข้าชิง เรายกกองเชียร์ไปทั้งโรงเรียน หยุดเรียนหมด ครู แม่ค้า ปรากฎว่า เราได้แชมป์ ชนะ อำนวยศิลป์ ๔ : ๐ ทำให้เราดัง ได้ชื่อเสียงมาก เพราะสมัยก่อน ถือว่าการแข่งขันฟุตบอลของเตรียมฯ มีศักดิ์ศรีเท่ากับฟุตบอลถ้วยต่างๆ เวลาแข่งมีการถ่ายทอดวิทยุด้วย ปีนั้นเราดังมาก หลังปี ๒๕๐๑ เราก็ส่ง ปี ๒๕๐๒ ได้แชมป์อีก หลังจากนั้นก็ได้รองแชมป์บ้าง บางปีก็ไม่ดีเท่าที่ควร พอปี ๒๕๐๔ ได้แชมป์อีก การแข่งขันฟุตบอลเตรียมฯ ก็เริ่มซบเซา แต่เราก็ยังส่งแข่งอยู่

อาจารย์ประทับใจทีมฟุตบอลช่วงไหนที่สุด
-ช่วงปี ๒๕๐๑ จัดว่าเป็นยุคทองของฟุตบอลสวนกุหลาบก็ได้ แข่งกับใครก็ชนะ พอเราคว้าแชมป์ฟุตบอลเตรียมฯ ก็มีชมรมฟุตบอลลำปาง และ ทีมเชียงใหม่เชิญไปแข่ง ทีมชาติก็มีแต่สวนกุหลาบ ฟุตบอลประเพณีก็มีแทบทุกปี คือ ประเพณี สวนกุหลาบ-เทพศิรินทร์ จัดเกือบทุกปี ศิษย์เก่าเป็นคนเริ่ม ใช้นักเรียนโตแข่ง ระยะหลังก็จึงมามีฟุตบอลจตุรมิตร

อยากให้อาจารย์พูดถึงฟุตบอลจตุรมิตร
-คนริเริ่ม จตุรมิตร อ.โปร่ง ส่งแสงเติม อ.สิงโต อ.บุญอวบ ภราดา บรรณา มีการเปิด แข่งในรอบ ๒ วัน และชิง สมัยนั้นถ้าเป็นจตุรมิตร ไม่มีปัญหาการขอสนามศุภฯ แม้จะติดบอลควีนส์คัพ ช่วงปลายปีมีจตุรมิตรเท่านั้นที่กรมพละให้ การประกบคู่แข่งขันไม่ใช้วิธีเหมือนปัจจุบัน โดยจะจับสลากประกบคู่ในวันแข่งเลย บรรยากาศแข่งขันจะเป็นมิตรกันมาก ผลการแข่งขันสวนกุหลาบได้แชมป์หลายครั้ง รวมทั้งครั้งแรก ส่วนเทพศิรินทร์ เคยได้แชมป์เหมือนกัน แต่รู้สึกว่าจะเพียง ๑ ครั้ง กรุงเทพคริสเตียนเคยชนะสวนกุหลาบได้แชมป์ครั้งหนึ่ง ประมาณปี ๑๒ หรือ ๑๓ คนทั่วไปคิดว่าทีมสวนกุหลาบแกล้งแพ้เจ้าภาพ แต่จริงแล้ว มันแพ้จริงๆ

การเชียร์ฟุตบอล
-สมัยก่อนจะมีการตะโกนว่า ?สวนกุหลาบๆๆๆ? ซ้ำกันไปตลอด โดยเฉพาะกรีฑา ส่วนฟุตบอลก็มีเพลงเชียร์ มีรุ่นพี่จาก จุฬา-ธรรมศาสตร์ มาเป็นลี้ดให้

นักฟุตบอลมีความสามารถสูงระดับชาติ
-ทุกคนสามารถไปทีมชาติได้ แต่นักบอลเราเล่นเพื่อโรงเรียนเป็นสำนึก แม้จบไปแล้วอาจจะไม่สนใจฟุตบอลเลย คนเด่นๆ ชายน้อย สงเคราะห์ เป็นกองหน้า เชื่อมั่นมาก ยิงเฉียบ, พิชัย สุธรรมวัชโรทัย(รุ่นกลาง) เซ็นเตอร์ดีที่สุด การเรียนดีติดบอร์ด เมื่อก่อนทีม นักเรียนไทยมี สวนกุหลาบ เทพศิรินทร์ ครึ่งทีม

(๕)
อ.ศิริ
๒๕๑๑-๒๕๑๙

อาจารย์เริ่มทำทีมฟุตบอลสวนกุหลาบตั้งแต่เมื่อไร
-ตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ ถึงปี ๒๕๑๙ เริ่มตั้งแต่สมัย อ.วินัย เกษมเล็ก เป็นอาจารย์ใหญ่ ต่อมาก็อาจารย์สุวรรณ จันทร์สม แล้วก็ อ.กมล ธิโสภา

มีผู้ช่วยบ้างไหม
-ในระยะหลัง คือช่วง อ.สุวรรณ จันทร์สม เป็น อาจารย์ใหญ่ ก็มี อ.สุโข มาช่วย

นโยบายของโรงเรียนต่อกีฬาสมัยนั้น
-ทางโรงเรียนก็สนับสนุนทุกด้าน ตั้งแต่กิจกรรม เพราะเป็นการฝึกความรับผิดชอบ ให้แก่นักเรียน ส่วนทางด้านกีฬานั้น นักกีฬาจะถูกฝึกให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม คือถ้าเขาไม่มาซ้อม หรือมีความฟิต ความแข็งแรงไม่เพียงพอ คือ ก็จะส่งผลต่อทีมต่อส่วนรวม ผลการแข่งขันก็อาจไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้นนักกีฬาก็ต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก

ฟุตบอลสมัยนั้นแบ่งรุ่นกันอย่างไร
-แบ่งตามความสูง รุ่นจิ๋ว รุ่นกลาง รุ่นใหญ่ และ รุ่นผสม เรียกว่า ทีมโรงเรียนเลย บางที รุ่นเล็กขึ้นมาเล่นทีมผสมก็มี พึ่งมาแบ่งตามอายุสัก ๑๐ ปีนี้เอง

การเก็บตัวของนักกีฬา
-แล้วแต่ความสำคัญของการแข่งขัน ฟุตบอลนักเรียนถือเป็นกิจกรรมธรรมดา ชิงชนะเลิศเต็มที่ ซ้อมหนัก เก็บตัว จตุรมิตรเก็บตัวตลอดเพื่อสนองตอบคนดู คือ ฟุตบอลต้องสวย

ชื่อเสียงทีมฟุตบอลสวนกุหลาบช่วงนั้น
-ของเราโด่งดังเฉพาะรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง รุ่นจตุรมิตร หรือรุ่นทั่วไปนี่นะ ของเราโด่งดังมาก แต่ถ้ารุ่นเล็กนี่ธรรมดา เราถือว่ารุ่นเล็กเนี่ยเอาเด็กหัดใหม่แท้ๆเลยไปหาประสบการณ์ แต่ก็ประสพความสำเร็จ คือที่สวนกุหลาบนี่มันลำบากอยู่อย่างหนึ่ง ใครก็ตามถ้าเค้าแข่งกับสวนกุหลาบเนี่ย เค้าไม่รู้หรอกว่า สวนกุหลาบมีความพร้อมหรือความเก่งแค่ไหน ถ้าเค้าชนะสวนกุหลาบนี่ เค้าดีใจน่าดู เพราะฉะนั้นเรามีความจำเป็นอยู่เองที่ว่า แพ้ไม่ค่อยได้นะ แพ้แล้วเสียหาย ถูกตำหนิ

ความคิดที่ว่า สวนกุหลาบแพ้ไม่ได้
-แนวความคิดแบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยที่อาจารย์ทีมฟุตบอลแล้ว คือ แพ้ไม่ได้ ที่จริงมันแพ้ได้ แต่ว่ามัน มันคือ ในสมัยนั้นนะในส่วนความคิดของคนอื่น แต่ในส่วนความคิดของโรงเรียนของครูเอง ไม่มีในส่วนที่ว่าแพ้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่า ถ้าเราคิดว่าเราแพ้ไม่ได้ บอลรุ่นเล็ก รุ่นจิ๋วเราคงไม่ส่ง เราส่งรุ่นเล็ก รุ่นจิ๋ว ทั้งๆที่เรารู้ว่าชุดนี้ต้องแพ้ แต่เราส่งหมดเลยนะ เพื่อหาประสบการณ์ ให้นักเรียนที่ยังมีประสบการณ์น้อย หรือยังเล่นไม่เป็น ขึ้นมาโตในรุ่นใหญ่ขึ้น ในเรื่องที่แพ้ไม่เป็น ครูไม่เคยสอนนักกีฬาที่สวนกุหลาบว่า แพ้ไม่ได้ สอนเขาอย่างเดียวว่า ลงสนาม ๑๑ คนนะ แต่ขึ้นมานี่ต้องมี ๒๒ คน สามารถกอดคอกันเข้ามาได้ ๒๒ คน ไม่ใช่ไปแข้งหักขาหัก

คู่แข่งทีมสวนกุหลาบสมัยนั้น
-เทพศิรินทร์ เตรียมอุดม ช่างอากาศบำรุง รุ่นเล็กก็มี บวรมงคล อิสลาม ปทุมคงคา เริ่มขึ้นมาช่วงปี ๒๕๑๗ เด่นที่สุด ฟุตบอลนักเรียนที่เด่นที่สุด คือ สวนกุหลาบ เทพศิรินทร์ ถ้า ๒ โรงเรียนนี้แข่งกันคนดูเยอะ พอมา ๔ โรงเรียน คนนิยมมาก เพราะเป็นกีฬาระดับผู้ดี ไม่เคยทะเลาะกัน ทั้งศิษย์เก่า ปัจจุบัน บางทีพอเลิก จำนักกีฬาไม่ได้ เพราะเปลี่ยนเสื้อกัน

มีการแข่งขันนัดไหนที่อาจารย์ประทับใจ
-นัดที่ประทับใจ การชิงชนะเลิศรุ่นกลาง สวนกุหลาบกับวัดประดู่ในทรงธรรม ที่สนามดินแดง ประทับใจตรงที่เด็กของเราแสดงสปิริต, ความสามารถสูงมาก ได้รับเสื้อสามารถ เล่นด้วยมารยาทจริงๆในสายตาคนทั่วไป ประตูยอดเยี่ยมที่สุด เซียนบอกสวนกุหลาบเป็นรอง ผลสวนกุหลาบชนะ ๓ : ๐ ประทับใจเพราะกำลังซ่อมตึกยาว ต้องไปนอนบ้านอาจารย์ เช้ามาโรงเรียน เย็นรถไปส่ง ช่วงนั้นกรีฑาเรากำลังดังมาก ชนะเลิศทุกประเภท เรามีการปรุงเทคนิคทางกีฬามาก เรื่องการสวมชุดวอร์มของนักกีฬาลงสนาม เราก็เป็นโรงเรียนแรกที่ใช้ โดยสั่งซื้อโดยตรงจากอังกฤษ แต่ตอนหลังพอมารู้ประโยชน์ก็เอาอย่างกันทุกโรงเรียน

การแต่งตัวของนักกีฬา
ก็ใส่เสื้อยืด (เปลี่ยนจากเสื้อเชิ๊ต) แบ่งครึ่งชมพู-ฟ้า คิดว่าเป็นเอกลักษณ์ของสวนกุหลาบ เท่าที่ทราบประวัติก็ใช้มาตั้งแต่ปี ๒๔๖๕

สนามแข่งขันสมัยนั้น แข่งที่ไหนบ้าง
-ก็มีทั้งสนามหลวง สนามดินแดง สนามเทพหัสดิน สนามศุภฯบ้าง

รูปแบบการเล่นฟุตบอลของทีมสวนกุหลาบ
-รูปแบบการเล่นของตัวเองตลอด อาศัยลูกสูตรของโค้ชมาเป็นแบบ เวลารับ หลังต้องมาก กลางต้องมาก ถ้าเป็นต่อหลังเท่าเดิม กลางน้อยหน่อย หน้าเต็มที่ ถือว่าเป็นแบบทั่วๆไปของการเล่นฟุตบอล สวนกุหลาบจะนำแบบทั่วๆไปมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะเล่นรุกรับ นักฟุตบอลทุกคนจะต้องระดมความคิดออกมาเป็นสูตรหนึ่ง แล้วมาซ้อมกันจนทุกคนรู้หน้าที่ ขณะเดียวกันมีข้อตกลงว่า ในกรณีสูตรไม่ได้ผลจะเปลี่ยนไปทางไหน โดยรอฟังคำสั่งจากโค้ช การเปลี่ยนตัวมีความหมาย ซึ่งคนอื่นไม่รู้แต่นักฟุตบอลในทีมรู้ บางทีแม้นักฟุตบอลเจ็บก็ยังไม่เปลี่ยน คือเราพิจารณาหารูปแบบที่เหมาะสมมาเป็นรูปแบบสวนกุหลาบจริงๆ

(๖)
อ.สุโข วุฒิโชติ
๒๕๑๗-

อาจารย์เริ่มช่วย อ.ศิริทำทีมฟุตบอลตั้งแต่เมื่อไร
-เริ่มทำเมื่อปี ๒๕๑๗ ช่วย อ.ศิริ ทำในครั้งแรก ต่อมาจึงเริ่มทำคนเดียว ในปี ๒๕๑๗ ทำครั้งแรกส่งแข่งฟุตบอลอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ซึ่งเป็นการจัดแข่งฟุตบอล รุ่น ๑๘ ปี เป็นครั้งแรกด้วย เพราะแต่เดิม แบ่งโดยความสูง ปรากฏว่า ได้แชมป์ โดยชนะ โรงเรียนสมบุญวิทยา ๒ ประตูต่อ ๐ นักฟุตบอลที่เด่นในทีม คือ จุฑา จารุบุตร, สมภพ มาลากุล ณ อยุธยา, สาธิต แย้มบุญเรือง, พีรวุฒิ เหรียญทอง นักฟุตบอลรุ่นนั้นทุกคนต่างมีระเบียบมาก อาจารย์ทำทีมคนเดียวทุกรุ่น ตอนนั้น อ.ไพโรจน์ ทำทีมรุ่นเล็ก ช่วงนั้นโรงเรียนเน้นด้านฟุตบอล และกรีฑา ซึ่งก็อยู่ในช่วงที่ทีมกรีฑาของเราโด่งดังมากด้วย ช่วงนั้นงานเยอะมาก ปีต่อมา อ.สุรินทร์ จึงมาช่วย ทำบอล ๑๕ ปี ชิงถ้วย อากาข่านคัพ ปัจจุบันเป็นโค้กคัพ ปรากฏว่า ได้แชมป์ ซึ่งชุดนี้เป็นชุดที่ดีมาก พอปลายปี อ.ทนสิงห์ จึงเริ่มมาช่วย

การคัดเลือกตัวนักกีฬาเข้าสู่โรงเรียน
-เรื่องนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะชี้แจง คือเราทำอย่างมีระเบียบและเปิดเผย ขั้นแรกจะมีการตั้งกรรมการคัดเลือก ให้แต่ละคน แสดงเบสิค เล่นคนเดียว กับเพื่อน หรือให้นักกีฬาแสดงความสามารถพิเศษโชว์ เมื่อเข้ามาเรียนแล้ว เราก็พยายามติดตามผลการเรียนเสมอ นักกีฬาสมัยก่อนจะไม่มีการไปแข่งให้กับทีมอื่นเลย ที่เรียกว่า เดินสาย ถ้าโรงเรียนยังไม่อนุญาต

ทีมฟุตบอลที่ดังในช่วที่อาจารย์ทำทีมอยู่
-ที่ดังมากๆ แล้วเป็นคู่แข่งกับเราก็มี ปทุมคงคา และ วัดประดู่ ส่วนเทพศิรินทร์ นั้นเพิ่งเริ่มมาดังในช่วง ๕-๖ ปีมานี้เอง

อยากให้อาจารย์พูดถึงแบบแผนการเล่นฟุตบอลของสวนกุหลาบ
-ของเราเป็นบอลใช้สมอง แต่มักมีข้อเสียคือไม่ฟิต ส่วนใหญ่จะเล่นบอลสวย เล่นง่ายๆใช้สมอง บางครั้งซ้อม ๗ วันชนะเลิศก็มี เราเล่นไม่เหมือนใคร มีแบบแผน ใช้ทักษะ ใจเย็น และ ที่สำคัญ คือต้องสุภาพมีมารยาท ถ้านักกีฬาคนไหนมารยาทไม่ดี เราเอาออกทันที เรื่องนี้เราเข้มงวด ตั้งแต่สมัย อ.ผล อ.ศิริ เป็นผู้ฝึกสอนแล้ว ระหว่างแข่งมีการปรับแผนตลอด ทั้งรุกและรับ แล้วแต่ความเหมาะสม เราจะเน้นที่กองกลางมาก ในสมัยก่อน นักฟุตบอลที่เล่นได้ดีของเราก็เช่น สมเกียรติ มณีอินทร์, เมธา ธรรมวิหาร, วิโรจน์ มูฮำหมัด

ความเห็นเกี่ยวกับ จตุรมิตร
-ตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ มา จตุรมิตร เป็นแมทซ์ที่เราประสบความสำเร็จมาก เรามีโค้ชดี สามารถแก้เกม พลิกสถานการณ์ได้ ศิษย์เก่าและผู้บริหารให้การสนับสนุน ระยะหลังมานี่เกมเริ่มสูสีมากขึ้น อยู่ที่โอกาส ปีหลังนี่บางครั้งเราเป็นรองแต่ก็ดวงดี สามารถเก็บแชมป์ไว้ได้

ความพร้อมของแต่ละทีมในจตุรมิตร
คู่แข่งของสวนกุหลาบก็คือ เทพศิรินทร์ ทีมนี้เป็นทีมที่ มีความสามารถเฉพาะตัวดี มีทีมเวิร์คที่ดี เพราะในแต่ละปีส่งแข่งมาก นักฟุตบอลแต่ละคนฉลาดเล่นในเกม รู้กติกาอย่างดีมีแท็คติคมาก เช่นเดียวกับ อัสสัมชัญ แต่ของอัสสัมฯ เล่นเร็วกว่า มีความฟิตสูง ฉะนั้นจึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมากอีกทีมหนึ่ง ส่วนกรุงเทพคริสเตียนนั้นปีที่ผ่านมา โชคไม่ดีมีนักฟุตบอลเจ็บมาก ทำให้พลาดโอกาส ส่วนของเรานั้น มีการเล่นผสมผสาน ทั้งช้าและเร็ว คือ กองหน้าจะเร็ว แต่กองหลังช้า กองหน้ารูปร่างดี ส่วนแบ๊คก็เหนียวแน่น ทั้งสองข้างเล่นดีมาก ทั้งสี่โรงเรียนบอลคลาสสิคคล้ายกัน

ความประทับใจต่อทีมสวนกุหลาบ
-ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแม็ทซ์ จตุรมิตร ตั้งแต่ทำมาก็ประทับใจทุกแม็ทซ์

ฝากความเห็นถึงทีมในอนาคต
ในประเทศจีนมีมณฑลเสิ่งหยาง มีทีมฟุตบอลเหลียวหนิง ซึ่งผลิตนักฟุตบอลให้ที่ชาติเป็นหลัก เช่นเดียวกับทีมสวนกุหลาบ ซึ่งผลิตนักฟุตบอลตัวเอกให้กับทีมชาติหลายคน เช่น อัศวิน ธนอินทร์เนตร, วิชิต บุญเรือง, กนก เทพหัสดิน ณ อยุธยา, วิชัย แสงธรรมกิจกุล, เกรียงศักดิ์ วิบูลสมปรารถนา, สมชัย ดวงมณี เป็นต้น และ หวังว่า ในอนาคตสวนกุหลาบก็ยังต้องเป็นแหล่งผลิตนักกีฬาหลักให้ทีมชาติต่อไป

By : chang   ( IP : 58.8.119.xxx ) (Read 575 | Answer 0 2007-02-02 16:49:24 )
 

จำนวนผู้เข้าชมเว็บทั้งหมด 230737 คน

ชมรมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 96 100/397-398 หมู่บ้านมณียา ถ.รัตนาธิเบศธ์ ซ.ท่าอิฐ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ติดต่อท่านประธาน > kematat.p@hotmail.com ติดต่อเว็บมาสเตอร์ >webmaster.osk@gmail.com
Produced By Permpoon C. and Powered by: StartUp Design and Network Co.,Ltd.