คลิกเลือกไปหน้าแรก
ชาวสวน'92เข้าสูระบบ
คลิกดูกำหนดการได้ที่วันที่ในปฏิทิน
ธันวาคม - 2567
พฤ
อา
25
26
27
28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1
2
3
4
5
 

@คณะกรรมการชมรม
@ตัวแทน/ผู้ประสานงาน
@วิสัยทัศน์ ค่านิยม ยุทธศาสตร์
@ระเบียบการบริหารงาน
@ระเบียบว่าด้วยเงิน
@รักรุ่นจริงไม่ทิ้งกัน
@บัญชีสถานะการเงิน
@เพลงสวน

คลิกเพื่อเลือกชมและบันทึกข้อความ
คลิกเพื่อดูหรือ post ข่าว
 คลิกเพื่อดูหรือ post จดหมายเวียน
คลิกเพื่อดูหรือ post กำหนดการทำบุญบริจาคโลหิต
คลิกเพื่อดูหรือ post เข้าบอร์ดเพื่อนช่วยเพื่อน
คลิกเพื่อดูหรือ post รายละเอียดธุรกิจของเพื่อน
คลิกเพื่อดูหรือ post คลิปโดนๆของชาวสวน 96
คลิกเพื่อดูหรือ post ภาพกิจกรรมของชาวสวน 96
คลิกเพื่อฝากข่าวสารถึงท่านประธาน
คลิกเพื่อฝากข่าวสารถึง webmaster
คลิกเพื่อดูหรือ postข่าวสารทางวิชาการจากสวน 96
คลิกเพื่อดูหรือ postคำคม,ปรัชญาชีวิต
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องซุบซิบนินทา
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องของครอบครัวสวน  96
คลิกเพื่อดูหรือ postเรื่องสันทนาการ

  คลิกเพื่อลิ้งค์ไปสู่หน้าเวปสวนกุหลาบ
  คลิกเพื่อลิ้งค์ไปสู่หน้าเวป OSKNETWORK


หัวข้อ :อาลัยต่อครอบครัวของ นายแพทย์ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง (ส.ก.84)   [ No. 463 ]  
รายละเอียด :
ชาว osknetwork.com ขอร่วมแสดงความอาลัยต่อครอบครัวของ
นายแพทย์ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง (ส.ก.84) ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสถาบันร่วมผลิตแพทย์กรมการแพทย์และ มหาวิทยาลัยรังสิต

นายแพทย์ชวลิตเกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2494 จบแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2518 จบแล้วฝึกงานที่โรงพยาบาลขอนแก่น จากนั้นบรรจุเป็นผู้อำนวยการ ร.พ.ยุพราชกระนวน จ.ขอนแก่น เมื่อปี 2520-2524 และในปี 2525-2532 ย้ายมาประจำอยู่ที่กรมอนามัยในตำแหน่งนักวิชาการ และปี 2533-2536 เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ กรมการแพทย์ในตำแหน่งแพทย์ 10 เป็นที่ปรึกษากรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตั้งแต่ปี 2545 ถึงปัจจุบัน ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสถาบันแพทย์ไทย-จีนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงสาธารณสุข และเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นแกนนำการแพทย์แผนจีนที่ได้มาตรฐาน และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์ทางเลือกในประเทศไทย อีกทั้งยังได้ประสานให้มีระบบการผลิตแพทย์จีนในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กับมหาวิทยาลัยการแพทย์เซี่ยงไฮ้ โดยได้รับนักศึกษาเข้ามาศึกษาแลกเปลี่ยนแล้ว 1 ปี รวมทั้งแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนปักกิ่ง และระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเฉินตู ได้รับรางวัลแมกโนเลีย(Magnolia Award) ซึ่งเป็นรางวัลที่นครเซี่ยงไฮ้มอบให้ผู้สนับสนุนการพัฒนานคร โดยมอบให้ชาวต่างชาติปีละ 8 รางวัล นพ.ชวลิตเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้รับรางวัลในปี 2547 เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว (มติชนรายวัน จันทร์ที่ 24 ม.ค. 48 http://www.matichon.co.th)


ท่านถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2550 เนื่องจากหัวใจวาย [ไปพร้อมกับแอนนา ]
กำหนดสวดพระอภิธรรมศพ เวลา 19.00 น. ถึงวันที่ 13 ก.พ. 2550
ศาลา ชุนกี่ วัดเทพศิรินทร์ กทม.
พระราชทานเพลิงศพ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 14.00 น.
สวนกุหลาบฯ รุ่น 84 ร่วมงานสวดพระอภิธรรมฯ วันอาทิตย์ที่ 11 ก.พ
วิดิโอคลิป วันพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เมื่อวันที่ 9 ก.พ. .....เชิญคลิก --> http://www.suan84.com/modules.php?name=News&file=article&sid=145

....................

นายแพทย์ ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง อดีตผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เคยกล่าวไว้เมื่อครั้งไปบรรยายเกี่ยวกับวิวัฒนาการแพทย์แผนจีนในไทยในโครงการอบรม ?จีนศึกษา รุ่นที่ 5? ที่จัดขึ้นโดยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปลายปีที่แล้วว่า

?แม้ว่าเรื่องของการฝังเข็ม เขายังเชื่อกันว่าเริ่มมาหมื่นกว่าปี ในยุคแรกใช้เข็มที่ทำจากหิน แล้วค่อยพัฒนามาเป็นเข็มที่ทำจากกระดูกสัตว์ งาช้าง จนในยุคโลหะก็กลายมาเป็นเข็มโลหะ นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเครื่องมือแพทย์ต่างๆ เช่น ที่พ่นยานัตถุ์ แก้วดูดสุญญากาศแต่ก่อนทำจากไม้ กระเบื้อง ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์นานกิง ที่ใส่น้ำล้างตา ถุงใส่อวัยวะเพศชายรักษาไส้เลื่อน หุ่นฝังเข็มอายุ 1,000 ปีที่สร้างโดยราชสำนักสำหรับสอนและสอบแพทย์ กล่องยาของหมอ แร่ธาตุต่างๆที่นำมาทำยา ตลอดจนตัวยาอายุวัฒนะต่างๆ รวมถึงเครื่องเผากำยานไล่ยุงและแมลง ฯลฯ?



หุ่นแสดงจุดฝังเข็มเพศหญิง


วิวัฒนาการศาสตร์การแพทย์จีน

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นศาสตร์พื้นบ้านที่สำคัญ 1 ใน 3 ศาสตร์การแพทย์ที่สำคัญของโลก การแพทย์อีก 2 ศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 5,000 ปี ได้แก่ ?อายุรเวช? ของอินเดีย และ ?ยูนานิ? ของตะวันออกกลาง แต่น่าเสียดายที่เมื่อมีการบุกอิรักแหล่งกำเนิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมียเมื่อหลายปีที่แล้ว พิพิธภัณฑ์ถูกปล้นทำให้สิ่งมีค่ารวมถึงคัมภีร์ต่างๆหายไปหมด ส่วนการแพทย์แขนงที่ 3 คือ ?อายุรเวช? ศาสตร์การแพทย์ที่ยังมีการใช้อยู่ในประเทศอินเดีย แต่ก็ใช้ในขอบเขตไม่กว้างขวางเท่าการแพทย์จีน

อ. ชวลิต เล่าว่า ?การแพทย์จีนแตกสาขาออกไปมากมาย เช่น การแพทย์ทิเบต การแพทย์มองโกล การแพทย์เผ่าไต ฯลฯ ซึ่งเป็นการสั่งสมภูมิปัญญาพื้นบ้านมากว่า 5,000 ปี จัดเป็น ?การแพทย์แบบองค์รวม? ต่างจากการแพทย์แผนปัจจุบันที่เป็น ?การแพทย์แบบแยกส่วน? ที่เมื่อเป็นโรคหัวใจก็ต้องไปหาหมอหัวใจ หรือเป็นโรคปอดไปหาหมอปอด?

แพทย์จีนยุคโบราณ
เมื่อ 5,400 ปีที่แล้วแพทย์จีนเป็นการเรียนรู้ตามธรรมชาติ มีการดูแลสุขภาพตนเองโดยการใช้ไฟ หุงหาอาหารเพื่อฆ่าเชื้อโรคและพยาธิเพื่อหลีกเลี่ยงโรค และการนวด ในยุคนี้ยังเป็นยุคของเสินหนง (神农) ผู้เก็บรวบรวบยาสมุนไพรและต่อมามีคนมารวบรวมเป็นตำรายา นอกจากนี้ ยังมีบันทึกการค้นพบประโยชน์ของการฝังเข็มโดยบังเอิญของชนเผ่าฝูซี

โดยอ.ชวลิต เล่าว่า ?เมื่อล่าสัตว์มาแล้วมักมีการแย่งอาหารกันจะเกิดการบาดเจ็บฟกช้ำดำเขียวบ่อยๆ และมีบางจุดตามร่างกายที่โดนของมีคมแทงเข้า ซึ่งพบว่า โรคประจำตัวบางอย่างหายไป เมื่อมีตัวอักษรจึงมีการบันทึกไว้ว่า จุดต่างๆรักษาโรคใดบ้าง?



การรักษาตามแบบแพทย์แผนจีนในประเทศจีน


ยุคราชวงศ์เซี่ย-ชุนชิว
พบหลักฐานการทำเหล้าและยาดองเหล้า โดยค้นพบว่าการต้มเหล้าจะช่วยละลายยาบางอย่างเพื่อให้รับประทานง่าย ช่วยให้ยาดูดซึมง่าย เพิ่มสรรพคุณลดพิษและผลข้างเคียง
ในยุคนี้ยังเกิดพวกพ่อมดหมอผีขึ้นด้วย และมีการแบ่งประเภทหมอผี หมอดูที่มีความเชื่อแตกต่างจากแพทย์รักษาโรค

ยุคก่อกำเนิดทฤษฏีการแพทย์แผนจีน
เป็นยุค 475 ปี ก่อนคริสตกาลมีการค้นพบตัวอักษร ทำให้มีการบันทึกประสบการณ์ต่างๆไว้ เริ่มมีตำราเผยแพร่ คัมภีร์แพทย์บนผ้าไหม ฯลฯ เช่น มีตำราการแพทย์การปรับสมดุลหยินหยาง การรับประทานอาหารและการปฏิบัติตนตามฤดูกาลต่างๆ การบริหารร่างกายและระบบการหายใจ มีการควบคุมกิจกรรมทางเพศ ( เหมือนความเชื่อของอินเดีย เป็นความเชื่อ 2 ทาง คือ ทางหนึ่งกิจกรรมทางเพศเป็นการสะสมพลังจากเพศตรงข้าม อีกความเชื่อหนึ่ง การมีกิจกรรมทางเพศต้องไม่หักโหมเกินไป มิฉะนั้นจะเป็นการเสียพลัง )

และสุดท้ายเรื่องการควบคุมอารมณ์ทั้ง 7 หมายถึง ไม่ตื่นเต้นเกินไป ไม่ดีใจ เสียใจ กลุ้มใจ หรือกังวลใจเกินไป เป็นต้น ในยุคนี้มีคัมภีร์ที่สำคัญ 3 เล่ม คือ คัมภีร์จักรพรรดิเหลือง ตำราเภสัชศาสตร์เสินหนง และตำราไข้ของจางจงจิง



หมอจีนบอกว่า แม้ว่าในปัจจุบันยาจีนจะพัฒนามาเป็นบดใส่แคปซูลแล้ว แต่ยาจีนที่ดีที่สุดคือ ยาต้ม


ยุคราชวงศ์จิ้น-ห้าราชวงศ์
ค.ศ.265 เริ่มมีลัทธิเต๋าและขงจื๊อเข้ามา ตำราแพทย์ที่สำคัญยุคนี้มีการพูดถึงเรื่องของการแบ่งเส้นลมปราณ การแบ่งจุดฝังเข็ม แบ่งชีพจรต่างๆ การแมะหรือการจับชีพจร มีตำรากล่าวถึงสาเหตุและอาการของโรค และตำรายา 700 กว่าขนาน มีความรู้เกี่ยวกับอาหารรักษาโรค โดยคนรุ่นต่อมาก็มีการบันทึกต่อๆมา

ยุคราชวงศ์ซ่ง-หมิง

นายแพทย์ ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ?ในยุคราชวงศ์ซ่ง-หมิงของจีน เป็นยุคที่เริ่มมีการจัดระบบ มีการพิมพ์และเผยแพร่ ตั้งสำนัก มีการชำระคัมภีร์แพทย์แผนโบราณนั้น ในปีค.ศ.1368 ของจีนตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชของไทย มีคัมภีร์โอสถพระนารายณ์ เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมยาในราชสำนักของไทย ประกอบด้วยตำรับล้านนา ของยุโรป ของไทย และมีตำรับหนึ่งที่เป็นของจีนที่หมอจีนมาเขียนไว้ นั่นแสดงว่า มีหมอจีนเข้ามาในไทยแล้วจึงได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในคัมภีร์โอสถพระนารายณ์ฯ?

ค.ศ.960-1368 ในยุคนี้จีนค้นพบดินปืน และเป็นยุคของการไปมาหาสู่ระหว่างตะวันออกและตะวันตกและกับดินแดนอื่นๆในโลก บุคคลสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดยุคนี้คือ เจงกิสข่าน อ.ชวลิต เล่าว่า ? ราว 900-1,000 ปีที่แล้ว เมื่อเจงกิสข่านไปตีตะวันตก ทำให้ความเชื่อของตะวันออกเริ่มมาเจอกับตะวันตก ขณะเดียวกันทำให้ศาสตร์ของตะวันตกเข้ามาประยุกต์กับตะวันออก อีกคนหนึ่งที่เราคุ้นเคยคือ มาร์โคโปโล เดินทางมาจีน และเจิ้งเหอที่เดินทะเลมาเอเชียอาคเนย์รวมถึงมาไทยด้วย?

ในยุคนี้เริ่มมีการจัดระบบการแพทย์ มีการพิมพ์และเผยแพร่ตำรา ตั้งสำนัก และมีการชำระคัมภีร์แพทย์แผนโบราณ ในปีค.ศ.1368 ของจีนซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชของไทย มีคัมภีร์โอสถพระนารายณ์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมยาในราชสำนักของไทย ประกอบด้วยตำรับล้านนา ของยุโรป ของไทย และมีตำรับหนึ่งที่เป็นของจีนที่หมอจีนมาเขียนไว้ด้วย ซึ่ง อ.ชวลิต กล่าวว่า นั่นแสดงว่ามีหมอจีนเข้ามาในไทยแล้ว จึงได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในคัมภีร์โอสถพระนารายณ์ฯ

ยุคปัจจุบัน ยุคของการแพทย์แผนจีนประยุกต์
เริ่มตั้งแต่จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน อ.ชวลิต กล่าวว่า ?ย้อนไปในสมัยของนักล่าอาณานิคมจากยุโรป เป็นช่วงที่แพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามาในขณะที่แผนโบราณเริ่มจะถูกตีตกไป จีนในช่วงที่คริสตจักรเข้ามาก็ปรากฏว่า ทุกเมืองในจีนมีโรงพยาบาลของศาสนาคริสต์หมด และพอเริ่มแพร่หลายก็เริ่มมีคนจีนไปเรียนมากขึ้น สมัยที่ก๊กมินตั๋งยึดนานกิงยังมีการออกกฎหมายห้ามมีการแพทย์แผนจีน แต่โดนแพทย์จีนต่อต้านกม.ดังกล่าวจึงตกไป?

จีนปลายสมัยราชวงศ์ชิงเริ่มเกิดสงครามฝิ่น มีการรุกรานของกระแสตะวันตกดังที่กล่าวข้างต้น ต่อมาค.ศ.1949 จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ผู้บริหารประเทศเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และประชาธิปไตย กอปรกับจำนวนประชากรมาก รัฐบาลจึงเล็งเห็นความสำคัญของการแพทย์แผนตะวันตก จึงให้มีการผสมผสานการแพทย์ทั้งสองแขนงเข้าด้วยกันจึงทำให้เกิดกระแสการแพทย์ประยุกต์ในค.ศ.1955

ความร่วมมือระหว่างแพทย์แผนจีนในไทยและจีน

?ในไทยมีสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับซูเปอร์กอง เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุขจีนและไทย ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เปิดมาปีนี้ครบ 10 ปีแล้ว ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางศึกษาเรื่องการแพทย์จีนและการควบคุมโรค ตลอดจนการปลูกสมุนไพรทดแทนการนำเข้า? นายแพทย์ ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ไทย-จีน กล่าว



ปัจจุบันชาวต่างชาติสนใจเรียนแพทย์แผนจีนในจีนกันมาก


สถาบันการแพทย์ไทย-จีนมีการศึกษาการแพทย์แผนไทย-จีน การแพทย์แผนไต สิบสองปันนา มีเป้าหมายเพื่อเอาวิชาการแพทย์จีนมาช่วยพัฒนาการแพทย์แผนไทย และนำความรู้ด้านการแพทย์แผนจีนมาใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทย

นอกจากนี้ ความร่วมมือยังกระจายไปสู่วงการการศึกษา ซึ่งปัจจุบันเริ่มดำเนินการไปอย่างจริงจังเมื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเข้าไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ของจีน อาทิ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ของเซี่ยงไฮ้ เปิดสอนการแพทย์แผนจีนระดับปริญญาตรี และในอนาคตจะมีการส่งนักศึกษาแพทย์แผนจีนไปฝึกงานที่เซี่ยงไฮ้ด้วย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลก็จับมือกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ปักกิ่ง ส่วนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็จับมือกับมหาวิทยาลัยการแพทย์เฉิงตู ด้านมหาวิทยาลัยราชภัฏจันเกษมจับมือกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ในกว่างโจว (กวางเจา)

ด้านโรงพยาบาลต่างๆในไทยก็มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลในประเทศจีนด้วย อาทิ โรงพยาบาลหัวเฉียวมีความร่วมมือกับโรงพยาบาลหลงหัว โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กับโรงพยาบาลจงซัน โรงพยาบาลศิริราชกับโรงพยาบาลเรนจี สถาบันบำราศนราดูรกับวิทยาลัยการสาธารณสุขเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น



.......................


นพ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย ? จีน กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เล่าให้ฟังว่า เจ้าหนอน?ตง ฉง ซ่า เถ่า? ชนิดนี้จะมีชีวิตเฉพาะช่วงฤดูหนาวแต่เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูร้อน พวกมันจะจะมุดเข้าไปจำศีลอยู่ใต้ใบไม้บนพื้นดิน....จนกระทั่งตาย

?สาเหตุที่มันมียอดคล้าย ๆ หญ้าออกมาตรงบริเวณหัว ทางวิชาการสัณนิษฐานว่าน่าจะมี ฟังกัส หรือเชื้อราบางชนิดเข้าไปทำปฎิกริยาในช่วงที่มันตายใหม่ ๆ ...?

เห็นเจ้าหนอน ?ตง ฉง ซ่า เถ่า? ทำให้นึกถึง ?หนอนรถด่วน? บ้านเรา ไม่รู้ว่านอกจากจะเอามากินเพื่อความเอร็ดอร่อย จะมีใครเริ่มค้นคว้า หรือหาสรรพคุณทางยาบ้างหรือยัง



ที่มา:
http://www.osknetwork.net/modules.php?name=News&file=article&sid=1276
http://digital.lib.kmutt.ac.th/news_content.php?n_id=256#7813
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาศรมสยาม-จีนวิทยา http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9490000014787&Page=2
?ตง ฉง ซ่า เถ่า" มหัศจรรย์สมุนไพรจีน http://www.vijai.org/article/show_topic.asp?Topicid=454
http://ttmp.trf.or.th/copy_1/part2/food/ttmpg1.htm
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9490000022270&Page=2
_________________
If a fool would persist in his folly, he would become wise.
- WILLIAM BLAKE, English artist and poet (1757 - 1827)

กลับไปข้างบน


songwut110
สุดยอดแฟนพันธุ์แท้



รุ่นทีู่่: 110
เข้าร่วมเมื่อ: Jul 21, 2003
ตอบ: 5228
ตอบ: Sun Feb 11, 2007 6:20 pm ชื่อกระทู้:

--------------------------------------------------------------------------------

ผลงานของ นพ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง OSK84 ร่วมกับ นพ.สุรพล รักปทุม OSK84



เห็ดหลินจือ Ling zhi
ผู้แต่ง : นพ.สุรพล รักปทุม , นพ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง

ผู้แปล/เรียบเรียง : -
หมวด : สุขภาพ

ชนิดปก : ปกอ่อน
จำนวนหน้า : 84 หน้า
พิมพ์ครั้งที่ /พศ. : 1/2538
สำนักพิมพ์ : ที พี พริ้นท์
ขนาด (ก. x ส. x นน.) : 14 Cm. x 21 Cm. x 0.1 Kg.

.................

ชาเขียวสุดยอดสมุนไพรจริงหรือ

สำหรับในทัศนะของแพทย์ไทยนั้น ก็มีความเห็นต่อปรากฏการณ์ชาเขียวฟีเวอร์เอาไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว

น.พ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ภาพชาเขียวว่า ชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก ชงแล้วสีจะออกเขียว ๆ ชาเขียวที่เราเรียกๆ กันอยู่ในปัจจุบัน เป็น ชาเขียวญี่ปุ่น เป็นพันธุ์ชาเฉพาะของญี่ปุ่น โดยมีการนำมาเสิร์ฟคู่กับอาหารญี่ปุ่น มีการพูดถึงสรรพคุณมากมายหลายประการ แต่ยังไม่เห็นผลการวิจัยที่มีการตีพิมพ์อย่างถูกต้องตามหลักขององค์การอนามัยโลก

จากกระแสชาเขียวของญี่ปุ่นที่มีการพูดถึงสรรพคุณสุขภาพต่างๆ ทำให้ทั่วโลกให้ความสนใจศึกษาว่า ในประเทศของตัวเองมีอะไรบ้างที่เหมือนกับชาเขียวญี่ปุ่น ในเมืองไทยมีใบหม่อนที่มีการอ้างถึงสรรพคุณว่าเหมือนกับชาเขียวของญี่ปุ่น บางคนถือโอกาสเรียกว่าชาเขียวเลย ส่วนชาเขียวกับชาใบหม่อนจะมีคุณสมบัติเหมือนกันหรือไม่ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์บางคนก็ว่าเหมือนบางคนก็ว่าไม่เหมือน ซึ่งยังไม่มีข้อยุติ

แต่แม้ชาเขียวจะมีคุณอนันต์เพียงใดก็ตาม แต่โทษของมันก็ใช่จะไม่มีเสียเลย โดย น.พ.ชวลิต ในฐานะผู้เชี่ยวชาญได้ให้ภาพว่า ในใบชามีสารคาเฟอีนอยู่ ส่วนจะมากหรือน้อยอยู่ที่สายพันธุ์ แต่ปริมาณคาเฟอีนไม่มากเท่ากาแฟ เมื่อดื่มแล้วจะทำให้กระชุ่มกระชวยนอนไม่หลับ ในใบชายังมีสารที่เรียกว่าแทนนิน ทำให้ท้องผูก คนดื่มชาเยอะๆ จะมีปัญหาเรื่องท้องผูกตามมา

"อะไรที่เกินไปมันมีโทษด้วยกันทั้งนั้น การดื่มชาก็เช่นกัน ถ้าดื่มมากไปจะทำให้นอนไม่หลับ การดูดซึมของร่างกายมีปัญหา ธาตุเหล็กน้อยลง ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ออกมาสู่ท้องตลาดจำนวนมากในขณะนี้ ที่น่าห่วง คือ สิ่งที่นำไปผสมกับน้ำชา เช่น คนไทยชอบรสหวาน ก็ผสมน้ำตาลเข้าไปเยอะ ๆ จึงไม่แปลกที่คนไทยเป็นโรคเบาหวานจำนวนมาก หรือ มีการผสมสี สารกันบูด ซึ่งผู้บริโภคควรระวัง" น.พ.ชวลิตสรุป


ฝังเข็มเพิ่มอสุจิ ทางออกชายเซ็กซ์เสื่อม

น.พ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ในด้านสุภาพสตรี วิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาสาขานารีเวชศาสตร์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่สำหรับประชนเพศชาย วิทยาศาสตร์การแพทย์ปัจจุบันได้เริ่มมีการรวบรวมสาขาศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยจัดตั้งเป็นสาขาบุรุษเวชศาสตร์(Andrology) เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา สำหรับการดุแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมและโรคติดต่อทั้งหลาย นอกเหนือจากแพทยืแผนปัจจุบันแล้ว จากการศึกษาวิจัยพบว่า การแพทย์พื้นบ้านเป็นสาขาที่น่าจะพัฒนาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันและส่งผลให้การดูแลสุขภาพของบุรุษเพศมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

?ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสนใจและสร้างกระแสการดูแลสุขภาพด้วยวิธีธรรมชาติ ศาสตร์ด้านบุรุษเวชด้วยการแพทย์พื้นบ้านได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย มีการก่อตั้งสมาคมบุรุษเวช(การแพทย์แผนจีนนานาชาติ)เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีองค์กรสมาชิกจากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก และได้มีการจัดประชุมสัมมนานาชาติในเรื่องบุรุษเวชศาสตร์แล้ว 2 ครั้ง ที่ฮ่องกง และปักกิ่ง และในครั้งที่ 3 นี้ได้ให้ประเทสไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมนานาชาติเรื่องบุรุษเวชศาสตร์ขึ้น และยังถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนด้วย?

น.พ.ชวลิต กล่าวต่อ ในการประชุมสัมมนานาชาติครั้งนี้ จะมีประเทศสมาชิก อาทิ ไทย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อังกฤษ และอื่นๆ เสนอผลงานการวิจัยที่เกี่ยวกับบุรุษเวชศาสตร์ และบทความวิชาการที่จะสัมมนาเกือบ 300 เรื่อง เนื้อหาในการสัมมนาจะเกี่ยวข้องกับ จุดกำเนิดของบุรุษเวชศาสตร์ สมรรถภาพทางเพศเสื่อม มีบุตรยาก โรคต่อมลูกหมาก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และอื่น และเปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพเผยแพร่ต่อนักวิชาการทั่วโลก งานนี้มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 30 มิ.ย.-1 ก.ค.2548 ณ หอประชุมองค์การสหประชาชาติ

งานเกือบสุดท้าย: ดึงแพทย์นานาชาติร่วมงานสมุนไพรแห่งชาติ

กรมแพทย์ทางเลือก ดึง แพทย์นานาชาติ ร่วมออกงาน มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 3 โดยนำแพทย์แผนจีนออกบูธ ตรวจรักษาฟรี
นพ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ไทยจีนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงความร่วมมือของการแพทย์นานาชาติ ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ส.ค.-3 ก.ย. 49 ณ ฮอลล์ 7-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า ภายในงานจะมีการจัดตั้งบูธ เพื่อใช้รักษาและการบ่งชี้โรคด้วยการฝังเข็ม รวมทั้งในบูธจะมีแพทย์แผนจีนประจำเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้ารับการตรวจรักษาโดยไม่คิดค่าตรวจ

นอกจากนั้นยังจัดให้มีการแสดงผลงานการปลูกพืชสมุนไพร โดยเฉพาะสมุนไพรที่อยู่ระหว่างการทดลองปลูกเพื่อลดการนำเข้า เช่น ชิงเฮา ซึ่งเป็นสมุนไพรที่นำมาสกัดเพื่อนำสารสกัดมารักษาโรคไข้มาลาเลีย ซึ่งปัจจุบันมีการทดลองปลูกที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยความร่วมมือจากกรมการแพทย์ทางเลือกและบริษัทผู้ผลิตยาเอกชน ทั้งนี้หากการทดสอบสรรพคุณทางยาจากสารที่สกัดได้ว่ามีปริมาณเท่ากันหรือใกล้เคียงกับชิงเฮาที่นำเข้าจากจีน และเวียดนาม ก็จะมีการขยายพื้นที่ปลูกต่อไป เพื่อลดการนำเข้าพืชสมุนไพรดังกล่าว

?เราต้องการให้ประชาชนหันมาดูแลรักษาสุขภาพตนเองมากขึ้น ทั้งด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยพืชสมุนไพรของไทยซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกลมหายใจเข้า-ออก การรำไทเก๊ก จี้กง ซึ่งเป็นวิธีการออกกำลังกายที่กำฃังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน?

นอกจากนี้ ภายในงานจะมีการนำสมุนไพรนานาชนิดมาร่วมแสดงและยังมี กิจกรรมหลากหลายในแบบภูมิปัญญาไท , การประชุมวิชาการ , นวัตกรรมใหม่ รวมถึงมีการจัดแสดง สวนสมุนไพรของพ่อหลวง เป็นการรวบรวมสมุนไพรนานาพันธุ์จากทั่วประเทศไทย ซึ่งหาได้ยาก นิทรรศการ ยาไทยคู่แผ่นดินสยาม การประกวดม็อกเทลสมุนไพร สูตรเด็ดเคล็ดสุขภาพดี พร้อมกันนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดตรวจสารไฮโดรควิโนนในเครื่องสำอาง โดยให้ผู้เข้าชมงานทดลองตรวจด้วยตนเอง และนำผลิตภัณฑ์ที่สงสัยมา ทดสอบได้ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ
โดยในโซนนวัตกรรม ซึ่งมีการนำพืชผักสมุนไพรมาปรับปรุงหรือแปรรูปให้เกิดความแปลกใหม่แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าต่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การจัดแสดงสมุนไพรไทยของบริษัท ห้างร้านที่จำหน่ายยาสมุนไพรในประเทศไทยมากว่า 60 ปีที่ปัจจุบันยังคงเป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี เช่น ยาขมน้ำเต้าทอง ยาตะขาบห้าตัว ยาเขียวตราใบโพธิ์ ยากวาดสมานลิ้นขาวลออ

ค้นหาความลับ 11 สมุนไพรจีน


โดย ผู้จัดการออนไลน์ 21 ตุลาคม 2547 08:56 น.


การแพทย์แผนจีนถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ซึ่งกำลังมีบทบาทสำคัญอยู่ในวงการแพทย์ไทยและการแพทย์ทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงสมุนไพรต่างๆ ที่มีการใช้กันในศาสตร์การแพทย์แผนจีน ก็มีจำนวนมากมายไม่แพ้สมุนไพรไทย แต่ในจำนวนนี้ ใครจะรู้ว่ามีสมุนไพรอยู่ไม่น้อยทีเดียว ที่เป็นที่รู้จักของทั้งคนไทยและจีนมาเป็นเวลาช้านาน เพียงแต่ชื่อเรียกอาจจะแตกต่างกันออกไป






ด้วยเหตุดังกล่าว การทดลองปลูกพืชสมุนไพรจีนในประเทศไทยเพื่อทดแทนการนำเข้า จึงถือเป็นอีกหนึ่งความพยายามของวงการแพทย์ไทย เพื่อลดต้นทุนในการนำเข้ายาจากประเทศจีน ที่สำคัญอาจช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทย และช่วยให้มีการวิจัยสมุนไพรเหล่านี้อย่างต่อเนื่องและมีมาตรฐาน เพื่อประโยชน์ของคนไทยในอนาคตอีกด้วย

น.พ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ อธิบายถึงสาเหตุที่ต้องมีการปลูกสมุนไพรจีนเพื่อทดแทนการนำเข้าในประเทศไทยว่า เป็นเพราะมีสมมติฐานว่าสมุนไพรไทยกับจีนนั้น มีซ้ำกันอยู่ถึงร้อยละ 30 ดังนั้น เมื่อตั้งใจจะมีหมอจีนเกิดขึ้นในประเทศไทย และเพื่อไม่ให้เกิดการขาดดุลมากนักในการสั่งยาเข้า จึงได้ไปรวบรวมรายชื่อยาจากร้านขายยาแถบเยาวราชว่า สั่งยาอะไรเข้ามาบ้าง ซึ่งก็รวบรวมได้ประมาณ 50 รายการ

หลังจากนั้น จึงได้ปรึกษากับทางกลุ่มพฤกษศาสตร์และเภสัชศาสตร์ เพื่อดูว่าสมุนไพรตัวไหนเมืองไทยปลูกได้บ้าง และก็ได้มาทั้งหมด 11 ชนิด ซึ่งได้แก่ โกฐสอ 3ชนิด โกฐเชียง(ตังกุย) โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐจุฬาลำพา(ชิงเฮา ชนิดที่1) ชิงเฮา(ชนิดที่2) อบเชยจีน ชะเอมเทศ และปัญจขันธ์(เจียวกู่หลาน)






ต่อมา ก็ได้มีการนำเข้าในคณะกรรมการความร่วมมือไทยจีนเมื่อปี 2544 และก็ตกลงให้ประเทศไทยสามารถทดลองปลูกได้ โดยทางจีนได้ให้พันธุ์และสารสำคัญในการปลูกด้วยว่าตัวยาต้องมีมากแค่ไหน แต่ทั้งนี้ ก็มีข้อแม้ว่าประเทศไทยต้องปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น คือไม่มีการใช้สารเคมี เพราะขณะนี้ ประเทศจีนก็มีปัญหาเยอะในเรื่องของการปลูกสมุนไพร เพราะแม้จะปลูกมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง และโลหะหนักมากเช่นกัน

?สมุนไพรของจีนมีการใช้สารเคมีมาก ดังนั้น จึงมีการตีกลับมาเยอะ เขาก็หวังว่าถ้าเราพัฒนาตรงนี้ได้ ก็อาจส่งกลับจีนได้ แต่ทั้งนี้ รายชื่อที่มีอยู่ 11 ตัวนั้น ตัวแรกที่เรากำลังทำการพัฒนาและทดลองอยู่ก็คือ เจียวกู่หลาน ซึ่งสาเหตุที่ต้องพัฒนาทีละตัวก็เพราะแต่ละตัวเจริญเติบโตไม่เหมือนกัน เช่น เจียวกู่หลาน 2-3 เดือนก็เก็บได้ แต่ถ้าเป็นตังกุยก็ต้องใช้เวลาเป็นปี เพราะฉะนั้นก็ต้องมีการวางแผนกับทางเกษตรของบ้านเรา รวมถึงต้องมีการคัดสถานที่ให้เหมะสม เพื่อตรวจดูว่ามีสารสำคัญมากน้อยเพียงไร ควรเก็บเวลาไหน ปลูกอย่างไร และเมื่อเสร็จแล้วเราก็จะทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้เกษตรกรนำไปปลูกได้ต่อไป?

ในส่วนของเจียวกู่หลานซึ่งได้ทดลองปลูกไปแล้วนั้น น.พ.ชวลิต กล่าวว่า เบื้องต้นที่มีการทดลองเปรียบเทียบพันธุ์ของประเทศไทยกับพันธุ์ที่นำเข้าจากประเทศจีนใน 4-5แปลง พบว่า พันธุ์ของจีนมีการเจริญเติบโตเร็วกว่า แต่ใบจะไม่ค่อยสวย ส่วนในเรื่องของสารสำคัญก็พบว่า พันธุ์จีนมีสารสำคัญในตัวยาสูงกว่าพันธุ์ไทยอย่างมีนัยสำคัญ

กล่าวคือ พันธุ์จีนมีเกณฑ์สารสำคัญอยู่ที่ประมาณ 18-19 ขณะที่ของพันธุ์ไทยจะมีประมาณ 12-13 ทั้งนี้ สำหรับคุณสมบัติของเจียวกู่หลานก็คือ สามารถช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัยได้







?ใน 4-5 จุดที่เราทดลองปลูก ก็มีความสูงต่างกัน ดินต่างกัน แดดต่างกัน ความชื้นต่างกัน ซึ่งเรากำลังดูว่าพันธุ์ไหนปลูกอย่างไร ปลูกที่ไหน เพราะแทนที่เราจะพัฒนาพันธุ์เอง ก็อาจไปเอาพันธุ์ที่ดีมาปลูกคงง่ายกว่า และเบื้องต้นตอนนี้ สถานที่ที่เราแนะนำก็น่าจะเป็นแถบภาคเหนือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะปลูกได้ดี แต่ก็ยังต้องศึกษาดูต่อไปว่า ควรเก็บเมื่อไร รวมถึงโลหะหนักในดินจะสามารถดูดซึมได้มากน้อยแค่ไหน เพราะเราต้องระวังอันตรายในเรื่องเหล่านี้ด้วย อย่างไรก็ดี คาดว่าจะสามารถแจกจ่ายพันธุ์ให้เกษตรกรที่สนใจได้ประมาณเดือนเมษายน 2548?

อย่างไรก็ตาม สำหรับเป้าหมายของการแพทย์ไทย-จีน ในปัจจุบันและอนาคตนั้น น.พ.ชวลิต เห็นว่า ปัจจุบันการแพทย์แผนจีนถือเป็นทางเลือกหนึ่งของคนไทยอย่างไม่มีใครปฏิเสธ แต่จะทำอย่างไรให้มีหมอที่เก่ง มีความสามารถ และมีจรรยาบรรณ ซึ่งตอนนี้มีหมอที่สอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมแผนจีนได้แล้ว 215 คน ขณะที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวก็เพิ่งเปิดสอนไปได้ 1 ปี และที่มหาวิทยาลัยมหิดลก็กำลังจะเปิดในปีหน้า ซึ่งตรงนี้ก็หวังว่า จะได้มีหมอจีนที่มีคุณธรรมและมีความสามารถ

?เราจะทำอย่างไรให้มียาที่ได้มาตรฐานคุณภาพและพึ่งตนเองมากที่สุด ซึ่งตอนนี้นายกสมาคมศาสตร์แพทย์จีนก็กำลังหาตำรายาอยู่ว่า ชื่อสมุนไพรจีนตัวนี้ มีชื่อไทยว่าอย่างไร ชื่อภาษาละตินว่าอย่างไร เพื่อให้รู้และสามารถเปรียบเทียบตัวยากันได้ รวมถึงการพัฒนาห้องแล็บเพื่อให้ได้มาตรฐานต่อไป?

?ตอนนี้คงมีอีกหลายแห่งที่อยากจะเปิดแพทย์แผนจีน แต่ก็ยังหาหมอไม่ได้เพียงพอ เราก็หวังว่าหัวเฉียวและมหิดลจะช่วยเราผลิตหมอที่ได้มาตรฐานและมีจรรยาบรรณ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเรากลัวคนเก่งแต่ไม่มีจรรยาบรรณ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ก็มีลูกหลานคนไทยที่ไปเรียนที่เซี้ยงไฮ้ ปักกิ่ง ซึ่งเราก็หวังว่าอยากให้คนเหล่านี้กลับมาเป็นอาจารย์ในอนาคต?น.พ.ชวลิตสรุปทิ้งท้าย


ที่มา:
http://www.welovebook.com/BookDet.php?bID=108&PHPSESSID=3cdb3854edfa18326c1d7d6f006959dd
http://digiknight.exteen.com/20050123/entry-1
http://203.121.160.35/an50book/homepage347.htm
http://www.namjai.com/webboard/aspboard_Question.asp?GID=1328
http://www.moph.go.th/show_hotnew.php?idHot_new=967
http://www.youyim.com/care.asp?category=2&id=482

By : chang   ( IP : 58.8.125.xxx ) (Read 518 | Answer 0 2007-02-11 22:05:54 )
 

จำนวนผู้เข้าชมเว็บทั้งหมด 230737 คน

ชมรมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 96 100/397-398 หมู่บ้านมณียา ถ.รัตนาธิเบศธ์ ซ.ท่าอิฐ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ติดต่อท่านประธาน > kematat.p@hotmail.com ติดต่อเว็บมาสเตอร์ >webmaster.osk@gmail.com
Produced By Permpoon C. and Powered by: StartUp Design and Network Co.,Ltd.