|
|
|
หัวข้อ :ท่านไสว หัพนานนท์ OSK ห้าแผ่นดิน อายุยืน ๑๐๐ ปี [ No. 468 ] |
|
รายละเอียด :
ขออนุญาตเรียนดังนี้ครับ: ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของไทย ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนราชินี(ล่าง), อัสสัมชัญ, และจบมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียน Trent College ประเทศอังกฤษ และได้ศึกษาต่อวิชากฎหมาย และได้รับปริญญา B.A. เกียรตินิยม Hons. จากวูซเตอร์ คอลเลจ [คำนี้ในภาษาอังกฤษสะกดไม่เหมือนคำอ่านครับ คือ สะกดว่า Worcester แต่อ่าน วูซเตอร์ ... คำในลักษณะนี้คำอื่นๆก็เช่น Salisbury อ่านว่า ซาลซบุรี่ หรือแม้แต่ Worwick ก็อ่านว่า วอริก] ในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (ได้คะแนนดีมาก ถึงขนาดมี Seni's Day ที่ Oxford) และศึกษาต่อที่สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ลอนดอน สอบไล่เนติบัณฑิตอังกฤษได้คะแนนยอดเยี่ยม ชั้น 1 จึงได้รับพระราชทานรางวัลจากพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2472 ท่านเป็นผู้ก่อตั้งเสรีไทยในระหว่างที่เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ devoted himself to the Allied cause, writing every Thai student in the United States (110 คนตอบรับ) to announce his decision to form a resistance force called the Seri Thai or Free Thai movement. ท่านเก่งหลายอย่าง ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ งานของท่านเช่น Interpretative translations of Thai poets หาอ่านได้ที่ --> http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&file=article&sid=539
ตัวอย่างก็เช่น:
หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง...............Should Siam live on ... so long,
เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย.............We remain as long ... in life.
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤา......Should Siam be conquered, ... how can Thais live?
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย........None of us can survive. ... The last breath of free Thai.
.......................................................
ท่าน ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เข้าเรียนที่สวนกุหลาบฯเมื่อปี ๒๔๖๐ ได้เลขประจำตัว ส.ก.๓๒๓๕
...ญาติเครือของท่านที่เข้าสวนฯ ไล่เลี่ยกัน คือ:
ม.ร.ว.ถ้วนเท่านึก ปราโมช ส.ก.3236 เข้าเรียนปีเดียวกัน
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ส.ก.4103 เข้าสวนฯปี 2464
ม.ร.ว.จเร ปราโมช ส.ก.4384 เข้าสวนฯปี 2465
Biographies --> http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&file=article&sid=112
ม.ร.ว. เสนีย์ ถึงแก่อสัญญากรรมเมื่อ 28 กรกฏาคม 2540 รวมอายุ 92 ปี [พอดีผมกลับมาเยี่ยมบ้านช่วงนั้น และได้พาเพื่อนฝรั่งไปเที่ยววัดเบญจมบพิตร ก็พลอยไปเห็นงานศพ เลยได้เข้าไปกราบศพท่านแบบ coincident ฟลุ๊ก fluke]
.......................................................
นักเรียนเก่าสวนฯในยุคของท่านที่มีอายุยืนมาถึงปัจจุบัน คือ ท่านไสว หัฬนานนท์ (หัพนานนท์?) ส.ก.2814 ท่านได้เล่าไว้ในวารสารของชมรมอยู่ร้อยปี ชีวีมีสุข (Thai Centenarian Club) ฉบับที่ ๗๖ เม.ย. ๒๕๔๗ ที่พี่พิชัย มโนคล้ายจินดา (แซ่ตั้ง) OSK98-4=94 ได้กรุณาส่งมาให้ผมแต่กระผมยังมิได้มีโอกาสนำเสนอแบบเต็มๆสักที ต้องกราบขอบพระคุณและขออภัยพี่พิชัยในความล่าช้ามา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ท่านไสวเล่าว่าตอนอยู่ ม.๔ สวนฯ ท่านเรียนอยู่ห้องเดียวกับ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ... ม.ร.ว. เสนีย์ สอบได้ที่หนึ่ง ท่านไสวสอบได้ที่สอง พอ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ไปเรียนต่อต่างประเทศ ท่านไสวก็สอบได้ที่หนึ่งมาตลอดจนจบ ม.๘ ตอนอายุ ๑๕ ปี [ลัดดา เคยเขียนว่า ผู้ที่จบมัธยม 8 อายุน้อยที่สุดจากสวนกุหลาบวิทยาลัยเมื่ออายุเพียง ๑๔ คือ พล.ร.อ.กวี (กระวี) สิงหะ SK2477]
พอท่านไสวจบ ม.๘ ท่านได้สิทธิสอบทุนเล่าเรียนหลวงแต่สอบไม่ได้ ท่านจึงต้องเรียนต่อเพื่อสอบใหม่เพราะมีโอกาสจนถึงอายุ ๑๘ ปี แต่พอเรียนไปได้แค่ ๓ เดือนก็สอบได้ทุนการรถไฟไปเรียนโยธาที่อังกฤษ
ท่านไสวเกิดเมื่อ ๒๕ ธ.ค. ๒๔๕๐ อีกสองปีท่านก็จะมีอายุครบร้อยแล้วครับ มีสิ่งหนึ่งที่ท่านได้ปรารภไว้ที่กินใจมากความว่า
...เกี่ยวกับเรื่องการเรียนของลูกของท่านในสมัยก่อน เนื่องจากโรงเรียนดีมีน้อยจึงไม่เพียงพอกับความต้องการ ท่านมองว่าหากท่านให้ลูกเรียนที่สวนกุหลาบฯเหมือนกับท่าน ก็เหมือนจะเป็นการแย่งที่นักเรียนคนอื่นที่เรียนดีที่จะได้เรียนที่สวนฯ ท่านกับภรรยาจึงให้ลูกๆไปเรียนที่ อนศ ซึ่งตั้งโดยศิษย์เก่าสวนฯเหมือนกัน แล้วส่งต่อไปเรียนที่อังกฤษและอเมริกาทั้ง ๓ คน...
.......................................................
เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว รัฐสภาของสหรัฐฯได้มีการสรรเสริญ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ดังนี้:
TRIBUTE TO M.R. SENI PRAMOJ (Senate - February 02, 1995)
[Page: S1979]
Mr. BAUCUS. Mr. President, I rise to offer congratulations and best wishes to M.R. Seni Pramoj, one of America's great friends, and one of Asia's most accomplished democratic leaders, as his 90th birthday approaches.
And as we prepare to commemorate the 50th anniversary of the end of the Second World War, I would like to remind the Senate of Seni's great service as Thai Ambassador to the United States when the war began.
Seni Pramoj began his career in the 1930's, as one of Thailand's first legal scholars. During that decade, he helped to draft many of Thailand's modern laws, including the law abolishing the unequal treaties Thailand was forced to sign during the colonial era. He lectured to a generation of students at Thammasat School of Law, and before the end of the decade was made a judge on Thailand's Supreme Court.
These accomplishments gained him national recognition far beyond the legal field. And in 1940, at the young age of 35, Seni found himself appointed Ambassador to the United States.
A year and a half later, on the day of the surprise attack on Pearl Harbor, the Japanese Army entered Thailand. A powerful faction within the Thai Government, favoring collaboration, ordered the Thai military not to resist. And later in December, now in full control, they signed a military alliance with Japan.
Their next step was to order Seni by cable to deliver a formal Declaration of War to the U.S. Government. As a patriot and a man of conscience, Seni did not hesitate to do his duty as he saw it. As he recounts the story, he went to the State Department the day after receiving this cable, and told then-Secretary of State Cordell Hull:
[Page: S1980]
Sir, I regret to say that I have been instructed by my government to declare war on the United States. But I refuse to do it because there is no reason, and I have already cut myself loose from Bangkok. I cannot bring myself to declare war on the United States.
Seni placed the Declaration of War in a safe at the Embassy on Kalorama Road, where it remained for the rest of the war. He refused further to leave the Embassy when the ruling faction in Bangkok ordered him to do so. And instead, he devoted himself to the Allied cause, writing every Thai student in the United States to announce his decision to form a resistance force called the Seri Thai or Free Thai movement.
Virtually all of the 110 Thai students in the United States at the time joined the Seri Thai. Seventy of them trained under the OSS as guerrilla fighters. Others served as technical experts. Some carried out broadcasts in the Thai language. Still others helped American military authorities to identify sites of great cultural and historical value to Thailand, in order to preserve them from Allied bombing raids toward the end of the war.
The Seri Thai movement was equally successful inside Thailand. Inspired by Seni's wartime broadcasts, and trained by his student recruits, it ultimately armed about 50,000 Thai partisans. And following the Japanese surrender, Seri Thai formed the first postwar government, with Seni himself as Prime Minister.
Seni's career since then has been just as distinguished. He was a founder of the Prachatipat or Democrat Party--now Thailand's oldest political party, and ably led by Prime Minister Chuan. He has been, as well, a highly successful lawyer and musician; and Prime Minister once again in the 1970's.
Altogether, it is no exaggeration to say that for the past 60 years, Seni has been at the center of Thai law and politics. And his sincere commitment to democracy, moderation, and the rule of law has helped Thailand become the prosperous democracy so many people around the world admire today.
In a letter to President Franklin Pierce, written in 1856 and reprinted in the book `A King of Siam Speaks,' which Seni and his brother Kukrit Pramoj edited some years ago, King Rama IV expressed the hope that the United States and Thailand would forever regard one another with `friendship and affection,' and support one another in times of difficulty. And nearly 150 years later, few have done more to make the King's hope a reality than Seni Pramoj.
All American friends of Thailand join in wishing M.R. Seni Pramoj best wishes as his 90th birthday approaches. And we thank him for a service to both our countries which we will not forget.
_________________
If a fool would persist in his folly, he would become wise.
- WILLIAM BLAKE, English artist and poet (1757 - 1827)
กลับไปข้างบน
songwut110
สุดยอดแฟนพันธุ์แท้
รุ่นทีู่่: 110
เข้าร่วมเมื่อ: Jul 21, 2003
ตอบ: 5298
ตอบ: Fri May 27, 2005 3:12 pm ชื่อกระทู้:
--------------------------------------------------------------------------------
ประชาธิปัตย์ทำบุญ100ปีม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
http://www.thairath.com/thairath1/2548/breaking.news/bknews.php?id=17143
ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อช่วงเช้าของเมื่อวานนี้ ที่พรรคประชาธิปัตย์ มีการจัดงานทำบุญครบรอบ 100 ปี OSK ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยพิธีเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 08.30 น. มีแกนนำของพรรค อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค นายวิทยา แก้วภราดัย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ OSK88 นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรค นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ OSK97-4=93 ส.ส.นครศรีธรรมราช รองโฆษกพรรคดูแลด้านการเมือง สิทธิมนุษยชน สื่อสารมวลชน และพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และสมาชิกพรรคจำนวนมาก รวมถึงทายาทของ ม.ร.ว.เสนีย์ อาทิ พลเรือตรี ม.ล.อัศนี ปราโมช องคมนตรี นายคำรณ ปราโมช ณ อยุธยา และ นางขวัญศรี ปราโมช ณ อยุธยา เป็นต้น มาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง
รายงานแจ้งว่า งานเริ่มต้นด้วยพิธีทางศาสนาอิสลาม ณ ห้องโถง ชั้นล่าง อาคารมูลนิธิควง อภัยวงศ์ จากนั้นเวลา 09.19 น. จึงเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ณ ลานพระแม่ธรณีบีบมวยผม ต่อด้วยเวลา 09.49 น. มีพิธีเปิดนิทรรศการ ?ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช? โดยคุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา นายอภิสิทธิ์ และนายโกวิท ชิดทอง อดีตเสรีไทย สายตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วจึงเป็นพิธีทางศาสนาพุทธ ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 50 ปี พิธีบังสุกุล และการอุทิศส่วนกุศลให้ ม.ร.ว.เสนีย์ และสิ้นสุดด้วยพระสงฆ์ทำพิธีเจิมป้าย ?อาคาร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช? ณ อาคาร 50 ปีเดิม
รายงานแจ้งด้วยว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกร้านอาหารไว้รับรองสมาชิก และประชาชนที่มาร่วมงานในวันนี้ด้วย รวมทั้งมีการจำหน่ายสายรัดข้อมือ ?สันติ? สีขาว ราคาอันละ 100 บาท โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย จะนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัด 3 ชายแดนภาคใต้.
_________________
If a fool would persist in his folly, he would become wise.
- WILLIAM BLAKE, English artist and poet (1757 - 1827)
กลับไปข้างบน
songwut110
สุดยอดแฟนพันธุ์แท้
รุ่นทีู่่: 110
เข้าร่วมเมื่อ: Jul 21, 2003
ตอบ: 5298
ตอบ: Tue Feb 13, 2007 4:03 am ชื่อกระทู้:
--------------------------------------------------------------------------------
ขออนุญาตเล่าถึงลูกสวนฯห้าแผ่นดิน รุ่นเดียวกับ OSK ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของไทย ซึ่งลูกสวนฯห้าแผ่นดินท่านนี้น่าจะเป็นท่านเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในวัย ๙๙ ปี ๒ เดือนในปัจจุบัน (ก.พ.๒๕๕๐) ..ท่านคือ ท่านไสว หัพนานนท์ ส.ก.2814 ท่านได้เล่าไว้ในวารสารของชมรมอยู่ร้อยปี ชีวีมีสุข (Thai Centenarian Club) ฉบับที่ ๗๖ เม.ย. ๒๕๔๗ ที่พี่พิชัย มโนคล้ายจินดา (แซ่ตั้ง) OSK98-4=94 ได้กรุณาส่งมาให้ผมราวสองปีเศษแล้ว
..แต่กระผมเพิ่งมีโอกาส scan และจะนำเสนอแบบเต็มๆสักที ในวันนี้ ต้องกราบขอบพระคุณและขออภัยพี่พิชัยในความล่าช้ามา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ท่านไสวเล่าว่าตอนอยู่ ม.๔ สวนฯ ท่านเรียนอยู่ห้องเดียวกับ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ... ม.ร.ว. เสนีย์ สอบได้ที่หนึ่ง ท่านไสวสอบได้ที่สอง พอ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ไปเรียนต่อต่างประเทศ ท่านไสวก็สอบได้ที่หนึ่งมาตลอดจนจบ ม.๘ ตอนอายุ ๑๕ ปี [ลัดดา เคยเขียนว่า ผู้ที่จบมัธยม 8 อายุน้อยที่สุดจากสวนกุหลาบวิทยาลัยเมื่ออายุเพียง ๑๔ คือ พล.ร.อ.กวี (กระวี) สิงหะ SK2477]
พอท่านไสวจบ ม.๘ ท่านได้สิทธิสอบทุนเล่าเรียนหลวงแต่สอบไม่ได้ ท่านจึงต้องเรียนต่อเพื่อสอบใหม่เพราะมีโอกาสจนถึงอายุ ๑๘ ปี แต่พอเรียนไปได้แค่ ๓ เดือนก็สอบได้ทุนการรถไฟไปเรียนโยธาที่อังกฤษ
ท่านไสวเกิดเมื่อ ๒๕ ธ.ค. ๒๔๕๐ ปลายปีนี้ท่านก็จะมีอายุครบร้อยแล้วครับ มีสิ่งหนึ่งที่ท่านได้ปรารภไว้ที่กินใจมากความว่า
...เกี่ยวกับเรื่องการเรียนของลูกของท่านในสมัยก่อน เนื่องจากโรงเรียนดีมีน้อยจึงไม่เพียงพอกับความต้องการ ท่านมองว่าหากท่านให้ลูกเรียนที่สวนกุหลาบฯเหมือนกับท่าน ก็เหมือนจะเป็นการแย่งที่นักเรียนคนอื่นที่เรียนดีที่จะได้เรียนที่สวนฯ ท่านกับภรรยาจึงให้ลูกๆไปเรียนที่ อนศ ซึ่งตั้งโดยศิษย์เก่าสวนฯเหมือนกัน แล้วส่งต่อไปเรียนที่อังกฤษและอเมริกาทั้ง ๓ คน...
ป.ล. เพิ่งทราบข่าวดีว่าท่านไสวได้นำสิ่งของส่วนตัวเกี่ยวกับสวนกุหลาบฯมาให้ทางสมาคมศิษย์เก่าเก็บไว้แล้ว osknetweork.com จักได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไป ขอบพระคุณท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ... เห็นว่ามีเทป+CD สัมภาษณ์ท่านด้วยครับ
_________________
By :
( IP : ...xxx )
(Read 678 | Answer 0 2008-03-30 13:44:41 )
|
|
|
|
|
|
|
|
|