ความคิดเห็นที่1 |
|
ธงชาติไทยมี 3 สี สีแดงหมายถึงชาติ สีขาวหมายถึงศาสนา สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ท่านพุทธทาสเคยกล่าวว่า ธงชาติไทยควรมี 4 สี สีที่4 หมายถึงรัฐธรรมนูญ ควรมีธงจตุรงค์แทนธงไตรรงค์ ( ปาฐกถาธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน 2527 หัวข้อ ? เรามีสิ่งชักนำให้ศาสนาคุ้มครองชาติ:โชคดีที่มีมหากษัตริย์ทำหน้าที่ชักนำ ? ) ปัจจุบันอำนาจบริหารประเทศ อยู่ที่รัฐบาลภายใต้กฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุด โดยพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของไทยที่ผ่านมา ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงส่งเสริมสนับสนุน เน้นคุณค่าและความสำคัญของพุทธศาสนามาตลอดทุกพระองค์ โดยทรงผนวชด้วย แต่ก็มิได้กีดกันการนับถือศาสนาอื่นของประชาชนแต่อย่างใด แม้จะมีศาสนาอื่นมาชวนให้เข้ารีต ก็มิได้ทรงเปลี่ยนพระราชหฤทัย ยังทรงศรัทธาและยึดมั่นในพระพุทธศาสนาเสมอมาทำให้ประเทศอยู่ร่มเย็นเป็นปึกแผ่นมาจนถึงรุ่นเรา แต่ที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2540 ที่ว่ากันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดนั้น ในมาตรา 38 มาตรา 73 และมาตรา 106 มีการใช้ศัพท์ในศาสนาของเขา เพื่อเปิดช่องให้ออกกฎหมายลูก ( พ.ร.บ. 3 ฉบับ ) มาให้รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนศาสนาของเขาทุกด้าน รวมถึงเงินอุดหนุนด้วย ซึ่งพุทธศาสนาไม่เคยได้สิทธิเช่นนั้นเลย ชาวไทยพุทธโดยมากไม่รู้ผลที่จะตามมาจาก พ.ร.บ. 3 ฉบับดังกล่าวนั้น การที่ระบุในรัฐธรรมนูญว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะรวมถึงนายกรัฐมนตรีด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากของชาติไทย เพราะ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ จะอิงกับพุทธศาสนาโดยมาก อีกทั้งคนไทยโดยมากนับถือพุทธศาสนา
ตอนนี้ปัญหาความไม่สงบเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นๆ หากไม่ตัดไฟแต่ต้นลม อนาคตแย่แน่ๆ เขาพยายามส่งคนของเขาเข้ามาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เพราะเป็นผู้รักษาการตามพ.ร.บ.ดังกล่าวข้างต้น เราไม่ได้กีดกันศาสนาอื่นแค่ไม่ต้องการให้อนาคตของพุทธศาสนาในไทย ต้องเสื่อมสลายไปเหมือนในอินเดีย การระบุว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ไม่ได้หมายความว่า ศาสนาอื่นจะด้อยสิทธิกว่า
เพียงเป็นการให้ความสำคัญแก่พุทธศาสนาที่มีคู่ชาติและพระมหากษัตริย์มาช้านาน และรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทยที่อิงกับพุทธศาสนานั่นเอง อยากรู้ให้ลึกกว่านี้ ลองติดต่อ ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา วัดราชาธิวาส สามเสน หรือที่ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา วัดบวรนิเวศ บางลำพู ดู แล้วจะเข้าใจอะไรดีๆอีกเยอะ หรือดูที่ www.bpct.org
By : วรากร
( 2008-03-30 13:44:10 )
|
|
|
|
|
ความคิดเห็นที่2 |
|
ดับ ?ไฟใต้? ด้วยนโยบายการศึกษาที่ถูกต้อง
ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล
?ประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้เสรีภาพทางศาสนามากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แม้ว่าคนไทยกว่า ๙๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวพุทธ แต่ก็มีความเกรงใจเพื่อนร่วมชาติที่นับถือศาสนาอื่นมาก จนไม่กล้าระบุในรัฐธรรมนูญว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย (ซึ่งผิดกับประเทศมาเลเซียที่มีประชากรมุสลิมเกินครึ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็ประกาศว่าอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ศาสนาอื่นจะประกาศคำสอนนอกเขตวัดหรือโบสถ์ของตนมิได้ อย่าว่าแต่จะมาออกอากาศทางโทรทัศน์หรือวิทยุเลย และเวลานี้ทางการมาเลเซียก็ประกาศห้ามสร้างวัดหรือโบสถ์ในศาสนาอื่นเพิ่มเติมอีก) ระบบราชการของไทยนั้นรับคนจากทุกศาสนาเข้าเป็นข้าราชการ โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ นอกจากนี้บางหน่วยงานของรัฐยังถึงกับกำหนดโควตา (เพิ่มจำนวน) ให้เป็นพิเศษ เช่น ทหาร ตำรวจ เป็นต้น (ซึ่งผิดกับประเทศปากีสถาน ที่ข้าราชการทุกคนจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น แม้ว่าประชาชนส่วนหนึ่งจะนับถือศาสนาอื่นก็ตาม)
ในประวัติศาสตร์การเมืองของไทยยุคปัจจุบัน เราเคยมีประธานรัฐสภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมาธิการฝ่ายต่างประเทศแห่งวุฒิสภา ฯลฯ ที่เป็นชาวมุสลิม รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งในการส่งเสริมศาสนาอิสลาม เช่นการสร้างมัสยิดกลาง การให้เงินประจำตำแหน่งแก่เจ้าหน้าที่ศาสนา (เทียบเคียงกับเงินประจำตำแหน่งของพระราชาคณะในพระพุทธศาสนา ทั้ง ๆ ที่ศาสนาอิสลามนั้นไม่มีสถาบันนักบวช) การอุดหนุนงบประมาณในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่เมืองเมกกะ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่ประเทศหนึ่งๆจะพึงให้ได้
เมื่อประเทศไทยมีท่าทีที่เปิดกว้างในเรื่องศาสนาเช่นนี้แล้ว ชาวไทยมุสลิมก็น่าจะรู้สึกพอใจเป็นอย่างยิ่ง แล้วเหตุไฉนมุสลิมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ๔ จังหวัดภาคใต้ จึงยังมีความรู้สึกแปลกแยกทั้งในเรื่องศาสนา สังคม และวัฒนธรรมอยู่อีก คำตอบน่าจะอยู่ที่นโยบายกระทรวงศึกษาด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ชาวพุทธไทยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเกรงใจชาวไทยศาสนิกอื่นเป็นอย่างมาก จนกระทั่งเรายินยอมที่จะตัดวิชา "พระพุทธศาสนา" (หรือศีลธรรม) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นวิชาบังคับออกไปจากหลักสูตรชั้นประถมและมัธยมศึกษา และให้บรรจุวิชา "ศาสนา" เป็นวิชาบังคับแทน ทั้งนี้เพื่อให้เด็กนักเรียนที่นับถือศาสนาใดก็ได้เรียนวิชาที่เป็นคำสอนในศาสนาของตน นับเป็นความใจกว้างอย่างหาประมาณมิได้ของกระทรวงศึกษาธิการของไทยในปัจจุบัน
พระพุทธศาสนานั้นเป็นรากเหง้าของสังคมและวัฒนธรรมไทย เด็กไทยทุกคนที่เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทยจะต้องรู้จักรากเหง้าของสังคมและวัฒนธรรมไทย เพื่อให้รู้สึกรักและหวงแหนผืนแผ่นดินอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง เด็กทุกคนจึงควรจะได้เรียนวิชา "พระพุทธศาสนา" ในมิติทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรมไทยร่วมกัน ความรู้สึกแปลกแยกจะได้หมดไป เมื่อกลับถึงบ้านโดยเฉพาะในวันเสาร์และอาทิตย์ เด็กก็สามารถจะเรียนรู้และปฏิบัติภารกิจทางศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่ได้เต็มที่อยู่แล้ว ในแง่นี้วิชา "พระพุทธศาสนา" จึงเปรียบเหมือนกับ "เบ้าหลอม" (melting pot) ที่จะหลอมรวมเด็กไทยทุกคนให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรมไทยร่วมกัน มีความรักและหวงแหนแผ่นดินไทยร่วมกัน
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน ที่ให้เด็กมุสลิมได้เรียนวิชา "ศาสนาอิสลาม" อันเป็นรากเหง้าของสังคมและวัฒนธรรมในคาบสมุทรอาระเบียหรือตะวันออกกลาง ตั้งแต่เด็กเล็กระดับประถมศึกษาไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษานั้น ทำให้เด็กไทยมุสลิมสร้างจินตนาการ อันนำไปสู่ความรู้สึกรักและผูกพันดินแดนศาสดาของตนในตะวันออกกลาง ทำให้ความจงรักภักดีของเด็กไทยมุสลิมเคลื่อนย้ายจากประเทศไทยไปยังดินแดนตะวันออกกลาง หรือประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ (เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งไม่ว่าประเด็นใดระหว่างประเทศไทยกับประเทศในตะวันออกกลาง ความจงรักภักดีของมุสลิมไทยมักจะไปอยู่ข้างตะวันออกกลางมากกว่าประเทศไทยเสมอ) ?
ถึงเวลาแล้วที่ชาวไทยซึ่ง 95% เป็นชาวพุทธ ควรเรียกร้องสิทธิให้ กระทรวงศึกษาและรัฐบาลกลับมาสอนวิชาพุทธศาสนาเป็นวิชาหลักหรือวิชาบังคับ ให้สอดคล้องกับที่ประเทศไทยมีประชากรชาวพุทธเป็นส่วนมากที่สุดในโลก แต่ลูกหลานกลับไม่ได้มีโอกาสเรียนรู้วิชาพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ทั้งที่ควรที่จะได้มีโอกาสภาคภูมิใจในความเป็นพุทธและความเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทย ซึ่งเกี่ยวเนื่องและเป็นผลพลอยได้จากพระพุทธศาสนาโดยตรง เช่น ที่ชาวต่างชาติรู้จักยกย่องเมืองไทยในนามของ Land of Smile, Land of Yellow Saffron ตลอดถึงความใจเย็นของคนไทย รวมไปถึงความดำรงชีวิตประจำวันอันเนื่องมาจากคำสอนในพุทธศาสนา เช่น คำว่า?ไม่เป็นไร? ?สติ? เช่น มีสติ หมดสติ ขาดสติ ที่เราพูดและอุทานกันอยู่ทุกวี่ทุกวัน เป็นต้น
ถามว่าหากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่สูงสุดมีบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจะดีกว่าไหม เพราะกฎหมายลูกที่จะออกตามมาไม่ว่าของศาสนาใดก็ตามก็ต้องไม่ให้สิทธิมากไปกว่าพุทธศาสนา และเป็นของขวัญให้ในหลวงของเราตลอดจนพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ผ่านมาที่ทรงเห็นว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาโดยตลอด
อยากรู้อะไรดีๆมากขึ้นให้คลิกอ่านทุกหน้าที่
http://larndham.net/index.php?showtopic=24724&st=0
และช่วย vote ให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติได้ที่
http://www.matichon.co.th/poll/frm_oldviewpoll.php?id_poll=19032007140603
ขอขอบคุณที่ได้ช่วยจรรโลงพุทธศาสนาให้อยู่คู่ไทยอย่างที่บรรพบุรุษได้กระทำมาเพราะปัจจุบันปกครองโดยประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราชเช่นในอดีตแล้ว รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดจึงสำคัญมาก หากเราไม่ช่วยกัน เป็นไปได้ที่ในอนาคตพุทธศาสนาจะไม่เป็นศาสนาหลักที่มีคนนับถือกันมากเช่นปัจจุบัน หากสิ้นพุทธ ก็สิ้นไทยแน่นอน
หากไม่มีเวลาอ่านทุกหน้า ให้อ่านหน้านี้ก่อนเลยแล้วคลิ
กอ่าน link ที่มีระบุบนหน้านี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=24724&st=130
By : วรากร
( 2008-03-30 13:44:10 )
|
|
|
|
|