|
|
|
หัวข้อ :" การศึกษา ที่ย่ำแย่ตอนนี้กับสวนกุหลาบวิทยาลัย - [ No. 707 ] |
|
รายละเอียด :
" การศึกษา ที่ย่ำแย่ตอนนี้กับสวนกุหลาบวิทยาลัย - โพสท์ให้จากtopic44484 "
50 อันดับร.ร.โอเน็ตสูงสุด สะท้อน"รับน.ร."เหลว!!
หลังสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศผลการจัดอันดับโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ที่นักเรียน ม.6 สอบได้คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต สูงสุด 50 อันดับแรก จากทั้งหมด 2,875 โรง แบ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยรวม 5 รายกลุ่มสาระการเรียนรู้ และคะแนนเฉลี่ยรายกลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ออกมาสร้างสีสันให้กับวงการศึกษาไทยอีกครั้ง
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ผลัดกันคว้าที่ 1 และที่ 2 แทบทุกรายกลุ่มสาระ เนื่องจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯ เป็นแหล่งรวมเหล่าบรรดานักเรียนหัวกะทิจากทั่วประเทศเอาไว้ ทำให้มีคะแนนเฉลี่ยอันดับ 1 ในรายกลุ่มสาระ ภาษาไทย 76.58 สังคมศึกษา 71.23 และภาษาอังกฤษ 68.77
ขณะเดียวกัน โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ก็เป็นโรงเรียนสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ก็มีคะแนนเฉลี่ยอันดับ 1 ในกลุ่มสารวิทยาศาสตร์ 80.65 และคณิตศาสตร์ 87.12 รวมถึง มีคะแนนเฉลี่ยรวมทั้ง 5 กลุ่มสาระ สูงสุด คือ 376.91 ส่วนอันดับ 2 เป็นของโรงเรียนเตรียมอุดมฯ 355.53
แต่ที่น่าแปลกใจ และผิดคาดสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาเอง ก็คือโรงเรียนที่ได้คะแนนเฉลี่ยในอันดับอื่นๆ ไปจนถึงอันดับที่ 50 ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ และโรงเรียนเอกชนเกือบทั้งสิ้น
ส่วนโรงเรียนรัฐที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งนอกเหนือจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯแล้ว มีเพียงไม่กี่โรงที่ติดอยู่ใน 50 อันดับแรก และยังติดในอันดับที่ต่ำกว่าโรงเรียนสาธิตฯ และโรงเรียนเอกชนอีกด้วย
อย่างในกลุ่มของคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตรวมทั้ง 5 กลุ่มสาระ ปรากฏว่านอกจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯ ที่มีคะแนนอันดับ 2 แล้ว โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ตรัง อยู่อันดับ 8 โรงเรียนสตรีวิทยา อันดับ 24 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อันดับ 35 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อันดับ 36 โรงเรียนศึกษานารี อันดับ 44 และโรงเรียนหอวัง อันดับ 49
ขณะที่อันดับ 3 เป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครปฐม อันดับ 4 โรงเรียนสาธิต มรภ.พระนครศรีอยุธยา อันดับ 5 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย อันดับ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับ 7 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน อันดับ 9 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) และอันดับ 10 โรงเรียนจิตรลดา ส่วนอันดับอื่นๆ ก็มีทั้งโรงเรียนสาธิตฯ และโรงเรียนเอกชนติดเข้ามาจำนวนมาก
ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับ "คุณภาพ" ของโรงเรียนรัฐสังกัด สพฐ.ในยุคนี้ ว่าเพราะเหตุใดมาตรฐานจึงตกต่ำ โดยเฉพาะต่ำกว่าโรงเรียนเอกชนจำนวนมาก ทั้งๆ ที่โรงเรียนรัฐเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสวนกุหลาบฯ โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนบดินทร์เดชาฯ โรงเรียนหอวัง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นโรงเรียนชื่อดัง แต่ละปีจะมีผู้ปกครองจำนวนมากกระเสือกกระสนอยากให้ลูกหลานได้เข้าเรียน
โดยเฉพาะโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ที่ขับเคี่ยวสูสีกับโรงเรียนเตรียมอุดมฯ มาโดยตลอด อีกทั้งในอดีตยังได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่สร้าง "ผู้นำ" และ "ผู้บริหารระดับสูง" ให้กับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศจำนวนมาก แต่ทำไมจึงไปโผล่ในอันดับที่ 35 ได้
ขณะเดียวกัน โรงเรียนเอกชนที่ติดใน 50 อันดับมีถึง 23 แห่ง เช่น โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย อันดับ 5 โรงเรียนจิตรลดา อันดับ 10 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ อันดับ 11 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย อันดับ 13 โรงเรียนราชินี อันดับ 14 โรงเรียนราชินีบน อันดับ 15 โรงเรียนธิดานุเคราะห์ อันดับ 16 โรงเรียนบูรณะรำลึก อันดับ 17 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล อันดับ 18 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ อันดับ 20 ฯลฯ
ซึ่งนายอนุสรณ์ ไทยเดชา ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเพราะโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ยังคงรักษาคุณภาพ และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้สูงขึ้นได้ แม้จะอยู่ในช่วงที่วิกฤต หรือมีการปฏิรูปการศึกษาก็ตาม
แต่ฝ่ายที่รับผิดชอบโรงเรียนสังกัด สพฐ.โดยตรง อย่างนางอารีรัตน์ วัฒนสิน รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กลับมองว่าการจัด 50 อันดับของ สทศ.ไม่สามารถวัดคุณภาพโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ว่าอยู่ในระดับสูง หรือต่ำได้ เพราะนักเรียนทุกคนไม่ได้มุ่งเรียนต่อมหาวิทยาลัย จึงไม่ตั้งใจทำข้อสอบ เพราะมีนักเรียนเพียง 40-50% ที่มุ่งมั่นจะเรียนต่อในระดับมหาวิยาลัย ซึ่งต่างจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตฯ หรือโรงเรียนเอกชน ที่ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดตั้งใจทำข้อสอบ เพราะมุ่งเข้ามหาวิทยาลัยมากกว่า ดังนั้น ถ้านำคะแนนสอบทั้งโรงเรียนมาคิดคะแนนเฉลี่ยทำให้คะแนนถูกดึงลงมา
นอกจากนี้ ยังมองว่ามีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนรัฐต่ำกว่าโรงเรียนสาธิตฯ และโรงเรียนเอกชน คืองบประมาณที่ได้น้อยกว่า อย่างโรงเรียนสังกัด สพฐ.ได้เงินอุดหนุนรายหัว หัวละ 1,000 บาท แต่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้หัวละ 100,000 บาท แถมยังคัดหัวกะทิได้ก่อน ฉะนั้น เมื่อปัจจัยต่างกันมาก การจัดอันดับจึงไม่ยุติธรรม
ส่วนผู้ที่ตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้เป็นคนแรกอย่างเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) นายภาวิช ทองโรจน์ มองว่า สิ่งที่ทำให้โรงเรียนสาธิตฯมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนรัฐที่สังกัด สพฐ.เพราะโรงเรียนสาธิตฯ สามารถคัดเลือกเด็กเก่งเข้าเรียนโดยไม่ได้อยู่ภายใต้นโยบายการรับนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เหมือนโรงเรียนสังกัด สพฐ.ที่ต้องแบ่งสัดส่วน "การรับนักเรียน" ในเขตพื้นที่บริการ การจับสลาก ส่วนการสอบคัดเลือกมีเพียงเล็กน้อย ทำให้คัดหัวกะทิไม่ได้
"แม้แต่สวนกุกลาบฯ ซึ่งคู่คี่กับเตรียมอุดมฯมาตลอด ยังแพ้เตรียมอุดมฯ ขนาดสาธิต มรภ.มหาสารคามยังติดอันดับสูงกว่า เป็นอุทาหรณ์ว่าโรงเรียนบางประเภทควรเป็นโรงเรียนบ่มเพาะเด็กที่เรียนดีเพื่อไปเป็นบุคลากรระดับสูงของประเทศ โดยเฉพาะโรงเรียนที่เคยสร้างผู้นำมามากมายอย่างสวนกุหลาบฯ แต่คะแนนกลับต่ำลง ไทยจึงควรมีโรงเรียนสำหรับผู้นำ เพราะศักยภาพของโรงเรียนรัฐสังกัด สพฐ.หลายๆ แห่งทำได้ ไม่ว่าจะเป็นสวนกุหลาบฯ หรือเทพศิรินทร์ เป็นต้น"
สิ่งที่สะท้อนออกมาจากการจัด 50 อันดับคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตครั้งนี้ นายภาวิชยังมองไปถึงผู้เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงศึกษาธิการต้องนำมาพิจารณาในเชิงยุทธศาสตร์ ว่าจำเป็นหรือไม่ที่โรงเรียนทั่วประเทศต้องมีแนวทางการรับนักเรียนเหมือนกัน เพราะไม่เช่นนั้น ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่ว่าคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ยังแพ้โรงเรียนสาธิตฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน แต่ที่เป็นเช่นนี้เพราะโรงเรียนสวนกุหลาบฯ "แพ้" ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบแล้ว
ถึงเวลาแล้วที่รัฐมนตรี และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ คงต้องปรับทัศนคติเกี่ยวกับแนวทาง "การรับนักเรียน" เสียใหม่ เพื่อให้โรงเรียนที่มีศักยภาพอยู่แล้วสามารถคัดเลือกคนดีคนเก่ง และพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้สูงยิ่งขึ้น
ไม่ใช่มักง่าย ใช้นโยบายเดียวกับโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศ จนดึงโรงเรียนที่มีศักยภาพสูงให้ตกต่ำลง ขณะเดียวกัน โรงเรียนที่มีศักยภาพปานกลาง หรือคุณภาพต่ำอยู่แล้วก็ยิ่งย่ำแย่ลงไปอีก!!
19 ธ.ค. 50 / 22:28 -*DeSoLaTeR*- [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
view 464 : discuss 15 : rating - : bookmarked 0 : vote 1 58.9.140.194
#1# - 369580 [icon-addtodelete : 101 bytes]
highlightอันดับร.ร.เราผิดนะครับ จริงๆอยู่อันดับที่ 35
19 ธ.ค. 50 / 22:37 osk
followup id 369580 124.121.179.234
#2# - 369612 [icon-addtodelete : 101 bytes]
มันควรคิดได้ตั้งนานแล้ว
19 ธ.ค. 50 / 23:22 LiGhT
followup id 369612 124.121.51.147
#3# - 369650 [icon-addtodelete : 101 bytes]
ก็นโยบายที่ตอนนั้นมันทำคืออะไรนะ ทำให้โรงเรียนทุกโรงเรียนมีมาตรฐานเท่ากัน โดยดึงโรงเรียนที่มีคุณภาพสูงให้ต่ำลงมา - -* ( mega clever )
อ่อ อีกอันนึงที่ยังอึ้งถึงทุกวันนี้ รับเด็กใกล้บ้านเพื่อแก้ปัญหาจราจร ( เหตุผลนึงที่เอาพูด ใช่ป่าววะ )
20 ธ.ค. 50 / 00:12 กา.
followup id 369650 125.25.59.253
#4# - 369652 [icon-addtodelete : 101 bytes]
มันย่ำแย่อยู่ตรงไหนละ ใช้กล้องดูดูดาวก็ดูไม่เห็น ใช้กล้องจุลทรรศน์ก็ไม่เห็น ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ อารมณ์เมติค ตรวจดู จึงพบเห็น หัวใจของคนกลุ่มหนึ่ง มีเชื้อโรค อคติอยู่ไง ตอนนี้ร่วมมือกับ เทคโนโลยี่บางมด หรือลาดกระบัง จำไม่ได้ ก็ไม่เห็นย่ำแย่อะไร มีอยู่อย่างเดียว ที่ย่ำแย่คือเกษียณแล้วยังไม่ให้เด็กมาสอนอีก ทีคนอยากเข้าโครงการเออลี กับไม่ขยับโครงการสักที เด็กเขาก็ไม่เห็นมีปัญหาไร มีแต่ผู้ใหญ่มีปัญหาวะ มึง/ใครไม่ต้องแก้ เอาเด็กไม่เรียนมาโรงเรียน แต่อยากมีคุณภาพทางการศึกษา
20 ธ.ค. 50 / 00:15 x
followup id 369652 124.121.29.37
#5# - 369675 [icon-addtodelete : 101 bytes]
คุณภาวิช ให้ความเห็นเรื่องนี้ได้ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
"โรงเรียนบางประเภทควรเป็นโรงเรียนบ่มเพาะเด็กที่เรียนดีเพื่อไปเป็นบุคลากรระดับสูงของประเทศ .... ไทยจึงควรมีโรงเรียนสำหรับผู้นำ เพราะศักยภาพของโรงเรียนรัฐสังกัด สพฐ.หลายๆ แห่งทำได้ ...กระทรวงศึกษาธิการต้องนำมาพิจารณาในเชิงยุทธศาสตร์ ว่าจำเป็นหรือไม่ที่โรงเรียนทั่วประเทศต้องมีแนวทางการรับนักเรียนเหมือนกัน "
ในขณะที่ ผู้ดูแลโรงเรียนรัฐบาลอย่าง สพฐ.เองกลับบอกว่าการจัดอันดับไม่ยุติธรรม แถมยังอ้างเรื่องงบประมาณด้วย สมัยผมเรียนสวนกุหลาบ ค่าเทอม 800 บาท กล้องจุลทรรศน์มองตาเดียวใช้แบบกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสง เวลาใช้ต้องออกมากลางแจ้ง เราก็อยู่ในระดับ top ของประเทศ
เราทั้งหมด ทั้งคนในคนนอก ต่างเชื่อมั่นศักยภาพโรงเรียนสวนกุหลาบ ชื่อเสียง เกียรติภูมิ ความฝันความจริงทั้งหลายทั้งมวล นำพาเรามาที่นี่และนำพาเราก้าวไปข้างหน้า
วันหนึ่งเมื่อรัฐมนตรีท่านหนึ่งเกิดไอเดียกระฉูด เรื่องการแก้ปัญหารถติด โรงเรียนใกล้บ้านเป็นนโยบายที่ออกมาจากไอเดียนั้น ซึ่งแน่นอนมันแก้ปัญหารถติดไม่ได้เลย แต่ข้อกล่าวอ้างเรื่องโรงเรียนควรรับใช้คนในชุมชนเป็นอันดับแรก ทำให้นโยบายนี้จำต้องใช้งานต่อไป เช่นเดียวกับที่รัฐมนตรีอีกท่านหนึ่ง เบื่อปัญหาเรื่องการฝากเด็ก และรัฐมนตรีอีกท่านหนึ่งก็มีอคติกับโรงเรียนรัฐบาลชื่อดังอย่างรุนแรง ( แต่จะบอกให้ว่าสมัยท่านนั้น รมช.ก็เขียนจดหมายรับรองฝากเด็กเข้าเรียนมัธยม )
เมื่อก่อนที่ผมจะเข้าเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ผมมองว่าโรงเรียนนี้คือโรงเรียนชั้นนำของประเทศ ที่แม้ว่าผมจะยังไม่ทราบว่าตัวเองจะศึกษาชั้นอุดมศึกษาหรือไม่อย่างไร แต่ที่นี่คือที่ๆ ดีที่สุดในตัวเลือกไม่กี่ที่ของรัฐบาล และเชื่อมั่นว่าจะได้รับการศึกษาและประสบการณ์ที่ดีที่สุด
สมัยก่อนที่ผมจะเข้ามาเรียนสวนกุหลาบ จนถึงเมื่อผมจบการศึกษา ผมเชื่อมั่นโดยตลอดว่า สวนกุหลาบวิทยาลัยคือโรงเรียนรัฐบาลที่มีลักษณะพิเศษ
แต่แล้วนโยบายของรัฐมนตรีท่านหนึ่ง มองโรงเรียนพวกนี้เป็นดั่งตัวปัญหา โรงเรียนมัธยมถูกทำให้มาตรฐานเท่าเทียมกัน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องการรับเด็ก และอ้างว่าเพื่อไม่ให้เป็นการเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
จะไม่มีโรงเรียนลักษณะพิเศษ อภิสิทธิ์ชนอีกต่อไป เว้นแต่โรงเรียนที่ข้าพเจ้าจะประกาศขึ้นมาเอง
......................................
เหตุการณ์ดำเนินต่อไป หลายสิบปีมานี้หลายๆ อย่างเกิดความเปลี่ยนแปลง คงไม่ต้องอธิบายความอะไรมากมาย ความเป็นจริงปัจจุบันสะท้อนว่า การทดลองนโยบายใหม่นี้ให้ผลอย่างไรบ้าง
น่าดีใจกับเรื่องการกลับมารับสอบเข้า 100% แต่น่าเสียใจกับความคิดของหัวเรือใหญ่ของฝ่ายรัฐ ในเรื่องนี้
สิบกว่าปีที่แล้ว ผมเคยเล่าให้ท่านฟังแล้ว เรื่องการต่อสู้ การล่ารายชื่อของผม ผมเคยทำโดยส่วนตัว ในชั้นแรกผมได้รายชื่อนักเรียนสวนกุหลาบที่เห็นด้วยกับเรื่องการเพิ่มสัดส่วนการสอบเข้าให้มากขึ้นได้พันกว่ารายชื่อจากเวลาเพียงไม่ถึงเดือน( ผมทำเรื่องนี้ในเวลาพักกลางวันโดยใช้วิธีการเดินเข้าไปพูดคุยโดยตรงกับเพื่อนนักเรียนทั้งม.ต้นและม.ปลาย และถ้าเห็นด้วยก็ขอให้ร่วมลงชื่อ มิได้ตั้งโต๊ะหรือประชาสัมพันธ์อะไร ) แต่ด้วยความเชื่อมั่นว่า " โรงเรียนรัฐบาลควรมีโรงเรียนลักษณะพิเศษที่ส่งเสริมด้านวิชาการ " มิได้เฉพาะแต่สวนกุหลาบโรงเรียนเดียวหากแต่เป็นโรงเรียนอื่นๆ ที่มีศักยภาพ ผมจึงได้ขยายออกไปยังโรงเรียนอื่นด้วย เช่นสตรีวิทยา ศึกษานารี เทพศิรินทร์ แม้แต่ปทุมคงคา หรือวัดสุทธิวราราม ซึ่งผมมองว่าเมื่อก่อนศักยภาพเขาก็สูงมาก ซึ่งก็ได้รับการตอบกลับมาเกือบพันรายชื่อ ด้วยเวลาเพียงไม่กี่วัน
ทั้งหมดทั้งมวลผมมองว่า โรงเรียนรัฐบาลที่มีคุณภาพสมควรได้รับการสนับสนุนให้เป็นโรงเรียนลักษณะพิเศษเพื่อส่งเสริมด้านวิชาการรวมถึงวุฒิภาวะการเป็นผู้นำ เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่นักเรียนที่มีคุณภาพสูงของประเทศ
ทั้งนี้ยังคงยึดมั่นในจุดยืนเดิมที่ว่าโรงเรียนทุกโรงเรียนมีหน้าที่และคุณงามความดีเท่า ๆ กัน แต่เพื่อการพัฒนาประเทศควรพัฒนาโรงเรียนที่มีความเหมาะสมแก่นักเรียนที่มีความสามารถสูง
20 ธ.ค. 50 / 01:32 ลุงหมี
followup id 369675 58.9.120.116
#6# - 369676 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ชื่อกระทู้ "แค้นนี้ต้องชำระ" ...
;)
20 ธ.ค. 50 / 01:35 > MoonSalt๑๒๕ < [icon smile : 92 bytes] : [ protect email from spamware ]
followup id 369676 58.9.209.241
#7# - 369730 [icon-addtodelete : 101 bytes]
ถ้า มี รร. บ้านนอก รร. นึง มีเด็กใน รร 3 คน สายวิทย์1 คน แต่ ดันเป็นเด็กอัจฉริยะ และเด็กคนนั้น ทำคะแนน a-net ได้ 100 เต็มทุกวิชา แปลว่า รร บ้านนอกนั้น เก่งที่สุดในประเทศ?
ปล. ไม่ได้อ่านละเอียด เลยไม่แน่ใจว่าตีความถูกไหม(ถ้าผิดขออภัย) แต่ ค่าเฉลี่ยนี้ มันเป็นแค่ x bar ไม่ได้เวทกับจำนวนนักเรียน และค่าการกระจาย(sd) จึงไม่น่าชี้วัดอะไรได้มากนัก
20 ธ.ค. 50 / 10:05 s_sw
followup id 369730 125.24.89.249
#8# - 369738 [icon-addtodelete : 101 bytes]
#7 แต่ยังไงก็ตามสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน มันก็เป็นความจริงไม่ใช่หรอครับ?
20 ธ.ค. 50 / 11:25 Prototype
followup id 369738 58.9.72.153
#9# - 369783 [icon-addtodelete : 101 bytes]
กับกะปิน้ำปลาแค่นิดหน่อย เอามาบอกว่าโรงเรียนแย่ ทำไมไม่เอาเอเนต และ จี พี เอ มาบวกเล่าแล้วเป็นคะแนนสอบเข้ามหาลัย ดูซิว่า สวนอยู่อันดับใด ทั้งที่สอบเข้าม.1 แค่1ในสี่ เทียบกับ สอบเข้าม.4 100%จากโรงเรียนอื่น
ตามสภาพ สวนก็ยังดีกว่าที่อื่นทั้งนั้น ถ้าที่อื่นรับม.1แบบเดียวกัน ชายล้วน มาเทียบกันดู ดูดาต้า ถ้ามีปัญญาจริง นี่อะไรไม่มีแววสถิติเลย แล้วมาว่าได้ไง ไอ้ พี่วัว
20 ธ.ค. 50 / 16:17 krungsiam sk
followup id 369783 58.9.188.14
#10# - 369820 [icon-addtodelete : 101 bytes]
และถ้าโรงเรียนเราออกนอกระบบแสดงว่าเราฏ็จะไม่ใช่โรงเรียนรัฐอีกต่อไปใช่ไหมอ่ะครับ
20 ธ.ค. 50 / 18:00 .......
followup id 369820 125.24.173.136
#11# - 369834 [icon-addtodelete : 101 bytes]
ผู้วางระบบการศึกษาไทยเป็นนักการศึกษาซึ่งเป็นผู้ที่มีสติปัญญาต่ำ นักการศึกษาไทยส่วนใหญ่ก็จบวิทยาลัยครูหรือราชภัฏ ซึ่งคุณภาพต่ำอยู่แล้ว นักการศึกษาไทยจึงมีคุณภาพต่ำอย่างที่เห็น คนเก่งๆของประเทศไทยส่วนใหญ่ไปเรียนหมอเรียนวิศวะกันหมด พวกที่เก่งๆมีน้อยมากที่จะไปเรียนราชภัฏหรือวิทยาลัยครูเพื่อเป็นครู ดังนั้นการแพทย์ไทยถึงเก่งอันดับต้นๆของโลก ส่วนการศึกษาไทยก็อยู่อันดับท้ายๆของโลก ปัจจุบันนักการศึกษาพวกนี้ก็ไปทำให้ระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเสียหายไปด้วย น่าเสียใจจริงๆ
20 ธ.ค. 50 / 18:30 นักการศึกษางี่เง่า
followup id 369834 210.203.170.25
#12# - 369844 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] gpa ที่มันอยากจะให้ใช้เข้ามหาลัยอะนะ
ตอนนี้บางโรงเรียนเค้าสอบเอา mid แค่ 10/100 กันแล้ว เหอๆ
ยอมตก 2 รอบซ่อมผ่าน คะแนนเก็บเต็ม ก็ 90/100 เกรด 4 กันทั่วหน้าทั่วตากันแทบทั้งระดับ
ไปสืบกันต่อเองนะว่าโรงเรียนอะไร ยังดีนะที่ไม่ใช่สวนกุหลาบ ฮ่าๆ
20 ธ.ค. 50 / 19:11 Northern_series [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 369844 58.64.71.225
#13# - 369881 [icon-addtodelete : 101 bytes]
[member icon] ผมอยากรู้จิงๆว่า..ท่านรัดทะมนตี ชื่อไร ที่ไอเดียบรรเจิด ทำโรงเรียนรัฐให้โง่เท่ากันได้หมด...เจ๋งจิงๆ น่ายกนิ้วหัวแม่โป้งเท้าซ้ายให้อย่างเต็มใจ
ป.ล แต่ถ้าจะทำให้ตลอด โดยทำให้มหาลัยโง่เท่ากันหมด เพราะรับเด็กพื้นที่ซะ ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงยิ่ง ก๊ากๆ (และบริษัทเอกชนดังๆ ราชการก็รับพนักงานจากการจับฉลากในพื้นที่ด้วยนะก๊าบ)
20 ธ.ค. 50 / 20:49 เด็กชายกึ้นSK131 [icon smile : 92 bytes] : n/a : n/a : n/a
followup id 369881 125.25.88.135
#14# - 369891 [icon-addtodelete : 101 bytes]
กระทรวงอนุรักษ์ควายไทย !!
20 ธ.ค. 50 / 21:03 gvd
followup id 369891 125.24.137.97
#15# - 369893 [icon-addtodelete : 101 bytes]
อีกหน่อยโรงงาน บริษัทเอกชน องค์การมหาชนอื่นๆ เขาสร้างเด็กตั้งแต่อนุบาลกันแล้ว สู่ประถม สู่มัธยม เขาก็เอาวิชาแกนหลัก ที่กฎหมายบังคบต้องเรียน และวิชาอื่นๆเป็นวิชาเลือกที่สอดคล้องกับองค์การของเขา เช่น กฎหมาย รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วัฒนธรรมสัมพันธ์ อาชญวิทยา เพื่อให้เด็กมีภูมิคุ้มกันแต่เด็ก และก็เพิ่มเติมวิชาที่จะเรียน สอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ให้คนเรียนดีเกรด เอ ไม่ไช่เรียนเก่ง จนม.7 ม.8 แบบเดี๋ยวนี้
เป็นการศึกาตามอัธยาศัย ไม่เข้าแล้วเตรียม สวน ม.วิทย์
20 ธ.ค. 50 / 21:05 x
By :
( IP : ...xxx )
(Read 849 | Answer 0 2008-03-30 13:44:41 )
|
|
|
|
|
|
|
|
|